เทคโนโลยีWeb Hosting 2 แห่งที่ดีที่สุดทุกการใช้งาน | จบปัญหาโฮสล่ม ช้า!

Web Hosting 2 แห่งที่ดีที่สุดทุกการใช้งาน | จบปัญหาโฮสล่ม ช้า!

Web Hosting หรือ Website Hosting คือการเช่าพื้นที่บน server ของผู้ให้บริการเพื่อที่เว็บไซต์ของคุณจะได้เข้าถึงได้โดยใช้อินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ทุกเว็บไซต์จะต้องมี Hosting อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสิ่งนี้เหมือนกับหัวใจที่สูบฉีดเลือดให้กับร่างกายเลยทีเดียว

ด้วยความที่ Web Hosting นี้สำคัญมาก การเลือกแบบขอไปทีจึงไม่ใช่สิ่งที่คุณควรจะทำอย่างแน่นอน นี่เป็นข้อผิดพลาดอันดับต้นๆ ของเจ้าของเว็บไซต์มือใหม่ที่ไม่มีความรู้เรื่อง IT มาก่อน ผมเองก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น ความผิดพลาดดังกล่าวนำมาซึ่งความวุ่นวาย ความรำคาญใจ และความน่าหงุดหงิดมากมาย ถ้าใครสนใจว่าเรื่องราวเป็นอย่างไรสามารถไปอ่านได้ในประสบการณ์ของผมกับ Bluehost

ทุกวันนี้ผมจึงขอเน้นเลยว่าถ้าคุณต้องการสร้างเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จ มีคนเข้าหลักหมื่นหลักแสนต่อเดือน คุณควรจะใช้บริการ Web Hosting คุณภาพสูงเอาไว้ก่อน อย่างที่หลายคนน่าจะทราบกันอยู่แล้ว Web Hosting ที่ดีจะช่วยให้การโหลดแต่ละหน้าของเว็บไซต์เร็วและเสถียร ทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์พึงพอใจ เพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะซื้อสินค้า หรืออ่านบทความของคุณต่อไป

ผลที่ตามมาคือ Google ก็จะรักเว็บไซต์ของคุณไปด้วย และ rank เว็บไซต์ของคุณไว้เหนือคู่แข่ง หลังจากนั้น traffic และรายได้ก็จะถาโถมเข้ามาหาคุณ

อย่างไรก็ดีถ้าคุณไป search ใน Google โดยเฉพาะเป็นภาษาอังกฤษ คุณจะพบว่ามีบทความแนะนำ Web Hosting เต็มไปหมด บางบทความแนะนำไป 10-20 โฮสด้วยซ้ำไป ซึ่งผมขอบอกเลยว่าผมจะไม่ทำแบบนั้น เพราะสุดท้ายแล้วคุณก็ใช้ได้แค่ Host เดียว และคุณต้องเสียเวลาหลายชั่วโมงไปเปรียบเทียบกันจนเหนื่อย

ดังนั้นผมจะแนะนำ Web Hosting ที่ผมมองว่าดีที่สุดซึ่งก็คือแค่ 2 แห่งเท่านั้นในโพสนี้ครับ ซึ่งทั้งสองแห่งสามารถเป็น Hosting ให้กับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นแทบทุก CMS ไม่ว่าจะเป็น WordPress, Joomla, Drupal, Magento ฯลฯ

ถึงกระนั้นสิ่งที่ผมต้องการจะบอกอีกอย่างหนึ่งคือ ทั้งสองแห่งที่ผมจะแนะนำจะไม่ใช่ Web Hosting ที่ “ถูก” แต่ผมขอใช้คำว่า “คุณภาพคุ้มค่าราคา” จะดีกว่าครับ เพราะฉะนั้นถ้าคุณต้องการจะหา Web Hosting ที่ถูกหรือฟรี โพสนี้น่าจะไม่ตอบโจทย์ของคุณครับ

ข้อควรทราบ: ราคาและเงื่อนไขอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามผู้ให้บริการ โปรดตรวจสอบกับเว็บไซต์อีกครั้งเพื่อความชัดเจน

1. SiteGround (ดีเยี่ยมสำหรับเว็บใหม่)

SiteGround เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นตามลำดับ และในปัจจุบันขึ้นเป็นหนึ่งในเจ้าที่ได้รับความโปรดปรานโดยเจ้าของเว็บไซต์จำนวนมากทั่วโลก

ทั้งนี้ SiteGround สามารถให้บริการได้แทบจะทุก CMS แม้ว่าจะเน้นไปที่ WordPress เป็นหลักก็ตาม โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่าจุดแข็งของ SiteGround คือการที่บริษัทให้บริการในรูปแบบที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง Shared Hosting ทั่วไป และ Managed Hosting

พูดง่ายๆ คือ ถ้าคุณ Host กับ SiteGround เหมือนกับคุณซื้อตั๋ว Premium Economy เวลานั่งเครื่องบิน นั่นคือคุณจะได้รับความสะดวกสบายและการบริการที่ดีกว่าการนั่ง Economy (เปรียบได้กับ Shared Hosting อย่างเช่น Bluehost) แต่เรื่องราคาและสิ่งที่คุณได้จะไม่สูงเท่ากับนั่ง Business Class (เปรียบได้กับ Fully Managed Hosting อย่างเช่น Kinsta)

จุดแข็งของ SiteGround

สิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่ผมมองว่ายอดเยี่ยมที่คุณจะได้รับจาก SiteGround

Speed Booster – SiteGround ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องความเร็วของเว็บไซต์ ดังนั้นบริษัทจึงใช้เทคโนโลยีความเร็วที่ยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับเว็บไซต์ นอกจาก software stack คุณภาพเยี่ยมแล้ว คุณยังสามารถใช้ PHP เวอร์ชันล่าสุดได้ รวมไปถึง protocols ใหม่อย่าง HTTP/2 ได้ด้วย แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือ SuperCacher ซึ่งเป็น in-house caching solution ที่จะช่วย cache เว็บไซต์ของคุณ ทำให้การโหลดแต่ละหน้าเร็วเป็นจรวดเลยครับ

ถ้าคุณสมัครแพลนระดับสูงอย่างเช่น GoGeek (รายละเอียดอยู่ด้านล่าง) คุณจะได้การ optimize PHP ระดับสูงไปด้วย ซึ่งจะช่วยลด Time to First Byte (TTFB) ไปอย่างมาก รวมไปถึงลดการใช้งาน memory ซึ่งจะทำให้เซิร์ฟเวอร์ของคุณ process ตัว queries ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น ในปัจจุบันแพลตฟอร์มของ SiteGround ยังใช้บริการของ Google Cloud ทำให้ network มีประสิทธิภาพสูงสุด ข้อมูลของคุณเองก็จะถูกเก็บไว้ใน SSD Disk ซึ่งจะรวดเร็วกว่า HDD ทั่วไปอย่างเทียบไม่ได้เลยครับ

ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่เว็บไซต์ของคุณจะโหลดเร็วมาก หลังจากที่คุณย้ายเว็บไซต์มายัง SiteGround ครับ

Security Solutions – ต่างจาก Web Hosting บางแห่งที่ไม่ลงทุนป้องกันภัยทางด้าน Cybersecurity เลย SiteGround ให้ความสำคัญกับปัญหาภัยคุกคามส่วนนี้อย่างมาก โดย server ของคุณจะได้รับการป้องกันจาก Smart WAF ที่อยู่ในการดูแลของทีม security ตลอด 24 ชั่วโมง ใน 7 วันต่อสัปดาห์ครับ

นอกจากนี้ยังมี Anti-bot ที่ใช้งาน AI ในการป้องกันเว็บไซต์ของคุณจาก Bad Bot และ malicious traffic ที่เหล่า Hacker ส่งเข้ามา รวมไปถึงยังมีระบบ Health Check ที่คอยเช็ค status ของ server ทุก 0.5 วินาที ซึ่งถ้าเกิดปัญหาจะได้ถูกแก้ไขในทันที โอกาสที่เว็บของคุณจะล่มนานๆ เพราะ server ล่มจะต่ำมากครับ

สำหรับทุกเว็บไซต์ที่ใช้บริการของ SiteGround จะได้รับ SSL ฟรี ทำให้เว็บไซต์ของคุณเป็น HTTPS ซึ่งมีประโยชน์ทางในด้านความปลอดภัยและ SEO ครับ

Uptime Guarantee – เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ SiteGround รับประกันว่าเว็บไซต์ของคุณจะมี uptime (ไม่ล่ม) ถึง 99.99% ตลอดปี และถ้าเกิดปัญหา server ล่มที่ทำให้ uptime ลดลงต่ำกว่าค่านี้ คุณจะได้ Host ฟรีทันที 1 เดือนหรือมากกว่าครับ

ดังนั้นไว้ใจได้เลยว่า เว็บไซต์ของคุณที่อยู่ในการดูแลของ SiteGround จะเสถียรมาก และแทบทั้งหมดนี้คุณจะได้รับมันไปโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มแล้ว ต่างจากบาง Web Hosting ที่ภายนอกดูราคาถูก แต่ข้างในเข้าไปเก็บโน่นนี่ยั้วเยี้ยไปหมดครับ

Data Centers – SiteGround มี Data Center ถึง 6 แห่งให้คุณเลือก และมีแห่งหนึ่งใกล้กับประเทศไทยด้วย นั่นก็คือที่ประเทศสิงคโปร์นั่นเอง ดังนั้น user เข้าใช้เว็บไซต์จากประเทศไทย การโหลดหน้าต่างๆ จะไม่ช้าอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมี Cloudflare CDN ให้ใช้งานฟรี ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่อง traffic จากต่างทวีปเข้าถึงเว็บไซต์ได้ช้าอีกต่อไป

Daily Backup – ต่างจาก Web Hosting ทั่วไปอย่างเช่น Bluehost ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่ม หรือไม่ก็ต้องหาวิธีการสร้าง Backup ด้วยตัวเอง (อย่างเช่นถ้าเป็น WordPress ก็ต้องลง plugin อย่าง Updraftplus) SiteGround จะสร้าง Backup ให้กับเว็บไซต์ของคุณฟรี เพื่อป้องกันกรณีที่คุณโดน Hack หรือว่าเกิดปัญหาทางเทคนิคกับเว็บไซต์ของคุณครับ

Managed WordPress – สำหรับใครที่ใช้ CMS อย่าง WordPress ทาง SiteGround จะมีบริการพิเศษทั้ง WP Starter ที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นการใช้งาน WordPress ได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่ต้องไปเรียนที่ไหนมาก่อน และ Autoupdate ที่จะช่วยอัพเดต plugin ทุกอย่างให้อัตโนมัติ พร้อมกับทีมงาน support แบบ 24/7 ที่จะช่วยคุณแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นครับ

แพลนและฟีเจอร์ของ SiteGround

สำหรับ Web Hosting ทั่วไปนั้น SiteGround มีแพลนให้คุณเลือก 3 รูปแบบด้วยกัน นั่นก็คือ

แพลนของ SiteGround

หลักๆเลยแต่ละแพลนจะแตกต่างกันที่ฟีเจอร์และทรัพยากรครับ โดยฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาในส่วนของ GrowBig คือ

  • On-demand Backup Copies – คุณสามารถสั่งให้ SiteGround สร้าง Backup ได้ในทันที โดยที่ไม่ต้องรอครบวัน ในส่วนนี้จะมีประโยชน์ในกรณีที่คุณต้องการจะแก้ไข database แล้วเกรงว่าจะเกิดปัญหาครับ
  • Staging – สร้างเว็บไซต์จำลองที่เหมือนกับเว็บไซต์ของคุณทุกประการขึ้นมา เพื่อให้คุณได้ทดลองแก้ไขก่อนที่คุณจะไปแก้ไขในของจริง ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ
  • Caching – เพิ่มประสิทธิภาพการโหลดเว็บไซต์ของคุณด้วย Caching ทั้ง 3 ระดับ (StartUp จะได้แค่ระดับเดียว) เพื่อลดเวลาโหลดให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยี SuperCacher

สำหรับ GoGeek นั้นจะได้ทุกสิ่งของ Grow Big และเพิ่มฟีเจอร์เข้าไปอีกนั่นก็คือ

  • Ultrafast PHP – ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระดับสุดยอด โดยจะลด TTFB อย่างมีนัยสำคัญ
  • Priority Support – คุณจะได้รับการช่วยเหลือในระดับ VIP ก่อนหน้าแพลนอื่นๆ

อย่างไรก็ดีฟีเจอร์นั้นไม่ใช่ปัจจัยสำคัญถ้ากับทรัพยากรที่คุณจะได้รับในแต่ละแพลน โดยทรัพยากรที่คุณจะได้รับในแต่ละแพลนคือ

  • StartUp – พื้นที่สำหรับสร้างเว็บไซต์ 1 เว็บจะอยู่ที่ 10 GB โดยทรัพยากรที่ถูกจัดสรรให้อย่างเช่น CPU Seconds Per Account จะรองรับ User ได้ประมาณ 10,000 คนต่อเดือน
  • GrowBig – พื้นที่สำหรับสร้างเว็บไซต์ไม่จำกัดเว็บจะเพิ่มเป็น 20 GB โดยทรัพยากรที่ให้จะรองรับ User ได้ประมาณ 25,000 คนต่อเดือน
  • GoGeek – พื้นที่สำหรับสร้างเว็บไซต์ไม่จำกัดเว็บจะเพิ่มเป็น 40 GB โดยทรัพยากรที่ให้จะรองรับ User ได้ประมาณ 100,000 คนต่อเดือน

ทุกแพลนของ SiteGround จะไม่มีการจำกัดขนาด MySQL ซึ่งเป็น database ที่ใช้งานครับ

ในส่วนของจำนวน User ในที่นี้ SiteGround ไม่ได้จำกัดนะครับ แต่เป็นจำนวนที่ “แนะนำ” ว่าทรัพยากรที่ถูกแบ่งมาให้คุณเหมาะกับ User จำนวนเท่านี้ (เนื่องจากเป็น Shared Hosting)

ถ้าเกิดว่า User มากกว่าจำนวนนี้ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องเสียเงินเพิ่มให้กับ SiteGround หรือว่าเว็บไซต์ของคุณจะเข้าไม่ได้แต่อย่างใด หากแต่ว่า performance ของเว็บไซต์คุณน่าจะลดลง เพราะคุณได้ใช้ทรัพยากรหมดไปแล้วนั่นเอง

สำหรับทุกแพลนนั้น SiteGround จะให้ Free Email แถมมาด้วย เพื่อที่คุณจะได้มีอีเมล์ติดต่อกับลูกค้าเป็น @abc.com หรือว่าใช้เป็นเว็บไซต์ของคุณและดูเป็นทางการและมืออาชีพ แทนที่จะใช้เป็น @gmail.com ซึ่งดูไม่เป็นมืออาชีพเท่าไรนักนั่นเอง

อย่างไรก็ดีผมไม่แนะนำให้ใช้งานเท่าไร เพราะอีเมล์ธุรกิจของคุณจะไปผูกกับ Hosting Plan ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคและปัญหาในการย้าย Web Hosting ในอนาคตได้ อีกอย่างหนึ่งอีเมล์แบบนี้ก็ไม่ได้แพงด้วย ผมแนะนำว่าเสียเงินเพิ่มอีกนิดหน่อย ($2.50) แล้วใช้บริการของ Microsoft 365 จะดีกว่ามากเลยครับ

ในส่วนของ Customer Service นั้น ทาง SiteGround มีชื่อเสียงที่ดีในด้านนี้อยู่แล้วว่าให้บริการอย่างดีเยี่ยมและรวดเร็วทั้งใน Live Chat และ Email (อย่างไรก็ดีระยะหลังมีการรายงานว่าคุณจะต้องรอนานขึ้นกว่าเดิม เพราะผู้ใช้บริการมีมากขึ้น ขณะที่โลกอยู่ในภาวะโรคระบาดครับ)

ถ้าอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้ที่ SiteGround Pricing

ข้อเสียของ SiteGround

ไม่ว่าสิ่งใดก็มีข้อเสีย SiteGround ก็เช่นกันครับ นั่นก็คือ

  • SiteGround ไม่ได้ใช้ cpanel อีกต่อไปแล้ว ถ้าคุณชอบการจัดการเว็บไซต์ของคุณโดยใช้ cpanel คุณจะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป
  • Web Space ของทุกๆ แพลนจัดว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ Host อื่นที่อาจจะให้ในแพลนเริ่มต้นสูงถึง 40 GB แต่ถ้าถามว่า 10 GB เพียงพอหรือไม่สำหรับการสร้างเว็บไซต์ขนาดเล็ก-กลาง ผมตอบได้เต็มปากเลยว่าเกินพอครับ
  • ไม่มีให้โดเมนเนม และให้ฟรีค่าบริการโดเมนปีแรกเหมือนกับ Host อื่น แต่คุณต้องจ่ายเพิ่ม อย่างไรก็ดีผมไม่แนะนำให้คุณผูกโดเมนไว้กับ Hosting Plan อยู่แล้ว เพราะจะสร้างความยุ่งยากตามมา (คุณต้องย้ายการจัดการโดเมนไปที่ registrar ใหม่ด้วย ถ้าคุณย้าย Web Hosting) ในส่วนของโดเมน ผมจึงแนะนำให้ใช้บริการของ Namecheap หรือว่า Google Domains ครับ ค่าบริการของสองที่นี้ก็ถูกกว่า SiteGround ครับ
  • สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้ CMS อย่าง WordPress แล้วอยากย้าย Host มาที่ SiteGround จะมีค่าบริการย้ายเว็บจำนวน $30 แต่ถ้าคุณใช้ WordPress จะย้ายฟรีโดยใช้ Plugin ครับ
  • เช่นเดียวกับ Shared Hosting ทั่วไป คุณไม่สามารถ Scaling ตัว server ตาม traffic ได้

เลือกแพลนไหนดี? (ควรอ่าน)

ผมขออธิบายในส่วนของราคาก่อน ในส่วนนี้สำคัญมาก นั่นคือราคาตัวใหญ่ๆ ที่เห็นในวงกลมสีแดงข้างล่างจะสำหรับราคาพิเศษสำหรับสัญญาเช่าปีแรกปีเดียวเท่านั้น ถ้าปีที่สองและถัดจากนั้น ราคาจะกลับไปอยู่ที่ตัวเลขเล็กๆ ด้านล่างตามเดิม

อย่างเช่นถ้าเป็นแพลน Start Up ก็จะเพิ่มจาก $6.99 ต่อเดือนในปีแรกเป็น $14.99 ต่อเดือนในปีหลังจากนั้น ซึ่งราคา $14.99 นี่คือราคาจริงครับ แล้วราคานี้ก็จะเก็บคุณเป็นรายปีแบบต่อเนื่อง (เก็บครั้งละ 12 เดือน หรือ 24 เดือนตามที่คุณต้องการ) ไปจนกว่าคุณจะเลิกใช้บริการ SiteGround

ในส่วนนี้ผมต้องบอกว่าสำหรับราคาจริงของ SiteGround เนี่ย มันเริ่มที่จะแพงเกิน Shared Hosting แล้ว และเข้าใกล้ Cloud Hosting หรือ VPS Hosting ที่มีศักยภาพและ performance ที่สูงกว่าเข้าไปทุกที เพราะฉะนั้นผมจึงมองว่าคุณไม่ควรจ่ายราคาเต็มให้กับ SiteGround ครับ

ถ้าจะอธิบายถึงสาเหตุก็คือมีทางเลือกที่ดีกว่านั่นเอง!

ดังนั้นสำหรับใครที่จะเปิดเว็บไซต์ใหม่ ผมจึงแนะนำว่าให้คุณสมัครแพลน StartUp หรือ GrowBig ในปีแรกก็พอ เพราะเว็บใหม่ มีโอกาสน้อยที่เว็บไซต์ของคุณจะใช้ทรัพยากรหมด ถ้าคุณอยากให้เว็บของคุณแรงเต็มสปีดก็สมัคร Grow Big ครับ รับรองว่าเร็วสะใจ

อย่างไรก็ดีเมื่อเว็บไซต์ของคุณมั่นคงแล้ว เริ่มมีรายได้เข้ามา คุณเองก็ต้องการจะทำเว็บไซต์ต่อไป ผมแนะนำให้ย้าย Host ไปที่ Cloudways ครับ รายละเอียดจะอยู่ด้านล่างเชิญอ่านได้ต่อไป

สำหรับ SiteGround นั้น ถ้าคุณสมัครแล้วไม่ชอบ คุณสามารถขอคืนเงินทุกบาททุกสตางค์ได้ในเวลา 30 วัน โดยที่ไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้นครับ

สำหรับใครที่อยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม ผมแนะนำให้ลองอ่านได้ที่บทความแยกที่ผมเขียนว่าทำไม SiteGround ถึงเป็น Hosting ที่ดีที่สุดสำหรับมือใหม่ครับ

2. Cloudways (ดีทุกการใช้งาน)

Web Hosting ต่อไปที่ผมจะแนะนำก็คือ Cloudways นั่นเอง ซึ่งเป็นเจ้าที่ผมกำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้ และคิดว่าจะอยู่ยาวๆ กับ Host นี้แหละครับ ถ้าถามผมว่า Cloudways ดีมั้ย ผมจะตอบทันทีเลยว่าดีมากๆ เลยทีเดียว ผมเองก็เคยไปรีวิวใน Trustpilot และให้คะแนน 5/5 มาแล้วครับ

จุดแข็งของ Cloudways

Managed Cloud Hosting – ลักษณะของ Cloudways จะเป็น Managed Cloud Hosting ซึ่งคุณจะได้ข้อดีของ Cloud Hosting ทั่วไปทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นความเสถียรแบบแทบที่จะเรียกว่าไม่มี Downtime (ใช้มาปีเศษแล้วยังไม่เคยมี Downtime เลยครับ ยกเว้นผมจงใจทำเอง 5555), ความสามารถในการ Scaling เพื่อรองรับ Traffic ที่มากขึ้นในคลิกเดียว และความเร็วในการโหลดที่ฉับไว (มี optimized stack และเทคโนโลยี Caching ที่มีคุณภาพสูงมาก)

อย่างไรก็ดีจุดแข็งของ Cloudways ที่แท้จริงก็คือการที่เป็น Cloud Hosting แบบ “Managed” นี่แหละครับ นั่นแปลว่าคุณไม่จำเป็นต้องปวดหัวกับการจัดการ การ set up และการดูแลที่ซับซ้อนมากแบบ Cloud Hosting ปกติ เพราะ Cloudways จะเข้ามาจัดการในส่วนนี้แทบทั้งหมด ซึ่งจะเหมาะกับเจ้าของเว็บไซต์ที่ไม่มีความรู้ในส่วนของ Cloud Infrastructure อย่างผมมากเลยครับ

Dedicated Environment – ทุก account ที่คุณสร้างขึ้นจะได้รับ dedicated resources หรือหมายความว่าทรัพยากรในแพลนจะเป็นของคุณ และคุณจะใช้งานได้แต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ต้องไม่แบ่งปันกับผู้อื่นเหมือนกับ SiteGround

นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกได้ทุกอย่างว่าคุณต้องการ RAM, Processor, Web Space และทรัพยากรอื่นๆ เท่าไรครับ ทำให้คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในสิ่งที่คุณไม่ได้ใช้งานครับ

Freedom – อีกหนึ่งในจุดแข็งของ Cloudways ที่ผมไม่พูดถึงไม่ได้คือ คุณมีอิสรภาพในการจัดการกับ server ของคุณเอง เพราะในแพลตฟอร์มมีข้อมูล server ของคุณอย่างละเอียดให้ดูแบบ Real-time ครับ คุณอยากปรับแก้อะไรก็แล้วแต่คุณเลยครับ และคุณจะทราบอย่างชัดเจนด้วยว่าคุณได้ทรัพยากรที่ตรงกับที่โฆษณาด้วยรึเปล่าในส่วนนี้จะต่างกับ Shared Hosting อย่าง SiteGround ที่คุณไม่สามารถทำได้ครับ

Security – สำหรับเรื่องความปลอดภัยนั้นไม่ต้องกังวลเลย เพราะ Cloudways มีการป้องกันให้ server ของคุณอย่างเยี่ยมยอดด้วยการใช้ Firewall และ Bot Protection และยังให้ SSL ฟรีแก่เว็บไซต์ของคุณด้วยครับ (นอกจากนี้ Cloudways ยังใช้งาน protocol ใหม่อย่าง HTTP/2 ด้วยครับ)

Pricing System – เรื่องจ่ายค่าบริการนี่เป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมที่สุดของ Cloudways เลยก็ว่าได้ เพราะไม่มีการคิดเงินแบบ contract ที่ต้องจ่ายล่วงหน้าเป็นปีๆ คุณจะจ่ายตามการใช้งานของคุณเท่านั้น ถ้าคุณใช้แล้วไม่ชอบ อย่างมากที่สุดคุณก็แค่จ่ายบริการเดือนนั้นแล้วย้ายไป Host อื่นโดยที่ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น

Data Centers – ด้วย Data Centers ทั่วโลกกว่า 50 แห่งให้คุณได้เลือกสรร ทำให้คุณเลือกได้อย่างสบายๆ ว่าต้องการให้ Host ที่ไหน แต่ใกล้ไทยที่สุดแน่นอนว่าคือสิงคโปร์ครับ

Cloning and Staging Area – เช่นเดียวกับ SiteGround ที่คุณสามารถสร้างเว็บไซต์จำลองขึ้นมาเพื่อลองผิดลองถูกก่อนได้ คุณสามารถทำได้แบบเดียวกับ SiteGround แต่ Cloudways อาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ เพราะคุณสามารถสร้าง Server จำลองขึ้นมาได้ทั้งหมดเลยครับ

Unlimited Website – Cloudways จะไม่จำกัดจำนวนเว็บไซต์ที่คุณสามารถสร้างได้ใน Web Hosting Plan ดังนั้นคุณจะปั้นเว็บไซต์ขึ้นมากี่แห่งก็ได้ตามที่ต้องการ

Customer Support – ในส่วนนี้ผมต้องบอกเลยว่า ทีม support ของ Cloudways มีความรู้สูงมากไม่ว่าจะเป็นส่วนของ application หรือ server อย่างตอนแรกที่ผมย้ายมาจาก Host เก่าก็เพราะผมเจอปัญหาที่ทีม support ของที่เก่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ทีมงาน Cloudways ใช้เวลาไม่นานก็แก้ปัญหาให้ผมอย่างง่ายดาย คุณสามารถติดต่อกับทีมงานได้โดยใช้ Live Chat หรือ Email โดยไม่มีเวลาพัก เพราะให้บริการแบบ 24/7/365 ครับ

SSH/SFTP/MySQL Access – จัดการฐานข้อมูลได้อย่างง่ายดายโดยใช้ SSH, SFTP หรือ MySQL

Add-ons – Cloudways มีบริการเสริมที่จะช่วยเหลือคุณในการจัดการเว็บไซต์ของคุณอีกมากมาย อาทิเช่น CDN, New Relic ฯลฯ

Free Migration – สำหรับการย้ายเว็บไซต์ คุณจะย้ายโดยให้ทีมงานย้ายให้ก็ได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือว่าถ้าคุณจะใช้ WordPress คุณจะย้ายเองก็ได้เช่นกัน

สำหรับฟีเจอร์อื่นๆที่น่าสนใจ ผมแนะนำให้อ่านเพิ่มเติมที่ Cloudways Features ครับ

ข้อเสียของ Cloudways

ข้อเสียของ Cloudways ที่ผมพบคือ

  • การเริ่มต้นใช้งานจัดว่าซับซ้อนและน่างงสำหรับมือใหม่ครับ เพราะคุณต้องเรียนรู้พอสมควรเลย แต่ Cloudways มีคู่มือและคลิปวีดิโอที่อธิบายขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียดมาก และมีรูปภาพประกอบด้วย ทำให้การ Install ไม่ยากอย่างที่คิดเลยครับ สิ่งที่ใช้เวลานานที่สุดคือรอข้อมูล transfer จาก Host เก่ามายัง Cloudways ครับ ขั้นตอนอื่นคนไม่มีความรู้เรื่อง IT อย่างผมใช้เวลาไปไม่เกิน 20 นาทีครับ ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะจัดการไม่ได้ครับ
  • คุณต้องมีโดเมนเนมเป็นของตัวเองที่ Registrar อื่น เช่นที่ NameCheap หรือ Google Domains เป็นต้น
  • ในปัจจุบัน Cloudways มีจัดระดับของทีม Support เป็น Tier หมายความว่าคุณอาจจะต้องรอเวลานานขึ้น เพราะมีคนที่มี Priority เหนือคุณเข้ามาครับ
  • Support Team จะไม่ช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่คุณมีปัญหากับ WordPress

แพลนของ Cloudways

หลายคนอย่างผมที่ไม่มีความรู้เรื่อง Cloud Hosting เลย พอเปิดมาดูหน้า Pricing ของ Cloudways แล้วปิดเลยก็มี เพราะงงว่ามันคิดราคายังไงกัน (ผมเองก็งงอยู่พักใหญ่ๆ เลยครับ) แต่ไม่ต้องกังวล เพราะในโพสนี้ผมจะอธิบายอย่างละเอียดให้ทุกคนสิ้นสงสัยเลยครับ

เนื่องจาก Cloudways เป็น Web Hosting แบบ Managed Cloud Hosting ดังนั้นจะเหมือนกับว่าคุณใช้บริการของ Cloud Hosting เจ้าอื่นโดยมี Cloudways เป็นผู้บริหารให้นั่นเอง

คุณจึงมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้ว่าคุณจะใช้บริการของเจ้าไหน โดย Cloudways จะมีให้คุณเลือก 5 เจ้าด้วยกัน นั่นก็คือ Digital Ocean, Linode, Vultr, AWS หรือ Google Cloud ตามรูปด้านล่าง

ในส่วนนี้คุณก็สามารถเลือกได้เลยว่าต้องการเจ้าไหน อย่างถ้าเป็น Digital Ocean, Linode, Vultr จะเหมาะสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก-กลาง แต่ถ้าเป็น AWS และ Google Cloud ก็จะเหมาะกับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ครับ สองเจ้าหลังนี่คุณจะ customize ได้มากกว่า เพราะทุกอย่างคุณจะจ่ายตามที่ใช้งานทุกประการครับ

อย่างด้านล่าง ผมเลือก Digital Ocean คุณก็จะเห็นรายละเอียดต่างๆ ของทรัพยากรอย่าง RAM, Processor, Storage, Bandwidth และแน่นอนว่าราคาครับ แต่ในรูปนี่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะคุณสามารถเพิ่มได้เยอะกว่านี้มากๆ อย่างเช่นเพิ่มเป็น 192 GB ก็ได้ครับ

ราคาก็จะแปรตามทรัพยากรเหล่านี้นั่นเอง อย่างเช่นแพลนแรกคุณจะเห็นว่าได้ RAM แค่ 1GB ส่วน Processor ได้แค่ 1 Core, Storage 25GB และ Bandwidth 1TB ทั้งหมดนี้ในราคา $10 หรือประมาณ 300 บาทต่อเดือน และถ้าแพลนที่สอง คุณจะเห็นว่าราคาสูงขึ้นเป็น $22 หรือประมาณ 660 บาทต่อเดือน แต่จะได้ RAM, Storage และ Bandwidth เพิ่ม

ทุกแพลนในผู้ให้บริการเดียวกันจะมีฟีเจอร์ที่เหมือนกันทุกประการครับ สมมติคุณใช้ไปแล้วทรัพยากรต่อเดือนเฉียดๆ จะหมด หรืออยากได้ server ที่แรงมากขึ้น คุณก็แค่ Scaling ในแพลตฟอร์มของ Cloudways เท่านั้นเอง ราคารายเดือนที่จะต้องจ่ายก็จะเปลี่ยนไป (ตามการใช้งาน)

การเพิ่ม Server Size ในคลิกเดียวโดยใช้ Cloudways

ทั้งนี้คุณไม่จำเป็นต้องไปยุ่งกับผู้ให้บริการอย่าง DigitalOcean ใดๆ ครับ เพราะคุณจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดในส่วนของ Cloud Hosting ให้กับ Cloudways ไปแล้วนั่นเอง เรื่องจ่ายให้ DigitalOcean เป็นหน้าที่ของ Cloudways ไปทำเองครับ ส่วนของคุณเสร็จสิ้นแค่นี้

ค่าใช้จ่ายหลักก็จะมีเท่านี้ แต่คุณจะต้องเสียค่า Back Up ซึ่ง Cloudways จะสร้างให้คุณอย่างอัตโนมัติ (หรือคุณสั่งให้สร้างถี่ขนาดไหนก็ได้ หรือสั่งทันทีก็ได้เช่นกัน) แล้วไปเก็บไว้นอก Server เพื่อความปลอดภัย ซึ่งค่า Back Up จะอยู่ที่ $0.033/GB ครับ

อย่างผมตอนนี้เลือก DigitalOcean ที่ราคา $22 หรือประมาณ 660 บาทต่อเดือน และสั่งให้สร้าง Back Up ทุกวัน ค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ $0.5 หรือ 15 บาทครับ รวมทั้งหมดแล้วค่าใช้จ่ายที่ผมจ่ายให้ Cloudways อยู่ที่ $22.50 หรือประมาณ 675 บาทครับ

อีกส่วนที่คุณอาจจะเสียเงินเพิ่มได้ก็คือ Add Ons ทั้งหลาย ซึ่งถ้าคุณไม่ต้องการก็ไม่ต้องเสียครับ ถ้ายังสงสัยเรื่องราคาอยู่ ลองอ่านเพิ่มเติมได้ Cloudways Pricing

เลือกแพลนไหนดี?

สำหรับใครที่สนใจจะย้าย Web Hosting มาที่ Cloudways อาจจะสงสัยว่าคุณจะใช้แพลนไหนดี และของเจ้าไหนดี โดยเฉพาะถ้าคุณใช้บริการ Shared Hosting ซึ่งไม่ได้มีข้อมูลตรงนี้บอกเลยมาก่อน

ในส่วนของเว็บไซต์ขนาดเล็ก-กลาง ผมแนะนำให้คุณเลือกผู้ให้บริการเป็น DigitalOcean, Linode หรือ Vultr ครับ เพราะราคารายเดือนในแต่ละแพลนจะเรียบง่ายไม่มีอะไรซับซ้อนดิ้นไปดิ้นมาได้เหมือน AWS และ Google Cloud และราคาก็ย่อมเยาเหมาะกับเว็บไซต์ไม่ใหญ่นัก ทั้งสามแห่งเองก็มี data center ให้เลือกมากมาย อย่างผมก็เลือกเป็นที่สิงคโปร์ครับ

ปัจจุบันผมมี User เข้าชมประมาณ 80,000 คนต่อเดือน ผมใช้ Bandwidth ไปไม่เกิน 200 GB เลยครับ เพราะฉะนั้นผมบอกเลยว่า Bandwidth 1TB และ 2TB ที่ 2 แพลนแรกสุดให้มานั้นเอาอยู่อย่างแน่นอนสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็กและกลางครับ

ส่วนของ Storage ที่ 2 แพลนให้สุดให้มา 25 GB และ 50 GB ตามลำดับนั้นผมก็มองว่าเหลือเฟือ เพราะผมมีบทความมากกว่า 1,000 URL และรูปภาพที่เก็บไว้ใน Data Storage อีกนับหมื่น ผมยังใช้ Disk Space ไปแค่ 16 GB เท่านั้นเองครับ

ในส่วนของ Processor กับ RAM นั้นแล้วแต่ความต้องการของคุณ แต่ผมมองว่ามีมากเกินดีกว่ามีน้อยเกิน (Cloudways แจ้งว่าถ้ามีน้อยไป เว็บจะมี error บ่อย) เพราะฉะนั้นผมมองว่าทางเลือกที่ดีที่สุดของเว็บไซต์ขนาดเล็กและกลางน่าจะใช้แพลนที่ 2 ในราคา $22 ต่อเดือนของ DigitalOcean, Linode หรือว่า Vultr ครับ

อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือใช้แพลนที่ 1 ในราคา $10 ต่อเดือนไปก่อน แล้วถ้าเกิดปัญหาว่า RAM หรือ CPU ไม่พอ คุณค่อย Scaling ในแพลตฟอร์มให้แรงขึ้นทีหลังก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจครับ

ทั้งนี้ Cloudways ให้คุณใช้งานได้ฟรี 3 วัน (ยกเว้น Google Cloud และ AWS) ครับ

ข้อควรทราบ: ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของ Cloudways ในเดือนนั้นๆ จะถูกเก็บในต้นเดือนถัดมา ซึ่งถ้าเกิดปัญหาบัตรเครดิตตัดไม่ได้ เว็บไซต์ของคุณจะโดน deactivate ชั่วคราว

เพราะฉะนั้นคุณต้องตรวจสอบให้ดีว่าคุณได้รับอีเมล์ว่าบัตรเครดิตตัดไม่ได้จาก Cloudways หรือไม่ (ในทางกลับกัน ถ้าตัดได้ Cloudways ก็จะส่งอีเมล์มาบอกว่าตัดเรียบร้อยแล้ว) ถ้าเกิดได้รับว่าตัดไม่ได้ คุณควรจะเปลี่ยนบัตรเครดิตใบใหม่ทันทีเพื่อป้องกัน Downtime ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ

อีกทางเลือกหนึ่งการ Add Funds เข้าไปใน Account หรือพูดง่ายๆ คือให้ Cloudways ตัดบัตรหรือ Paypal ไปเลยล่วงหน้า เงินส่วนนี้ก็จะเข้าไปอยู่ใน Cloudways Account ของคุณและถูก Cloudways ตัดทุกเดือนจนกว่าจะหมดแล้วถึงจะตัดบัตรเครดิตครับ ซึ่งถ้ามีเงินอยู่ การ deactivate เว็บไซต์ของคุณก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดีผมไม่เคยมีปัญหากับ Cloudways ในเรื่องนี้เลย แต่ผมได้รวบรวมมาจากเจ้าของเว็บไซต์อื่นที่เคยเจอปัญหาเหล่านี้ครับ

สำหรับใครที่ใช้ WordPress จริงๆ แล้วยังมี Web Hosting อื่นที่น่าพิจารณาด้วย แต่ผมไม่ได้ใส่ไว้เพราะ CMS อื่นใช้ไม่ได้ ถ้าสนใจลองอ่านเพิ่มเติมที่ WordPress Hosting ที่น่าสนใจครับ

บทความการศึกษา

Victory Tale ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความไปโพสที่ใดทุกกรณี การฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย

error: Content is protected !!