เทคโนโลยีแนะนำ WordPress Plugin ที่ Blogger มือใหม่ควรใช้ในเว็บไซต์

แนะนำ WordPress Plugin ที่ Blogger มือใหม่ควรใช้ในเว็บไซต์

WordPress น่าจะเป็น CMS ที่ Blogger นิยมใช้มากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะใช้งานง่าย และยังใช้ได้หลากหลายอีกด้วย ซึ่งความหลากหลายดังกล่าวนี้มาจากการที่ผู้ใช้สามารถใช้งาน WordPress plugin ที่ถูกสร้างขึ้นมาจำนวนมหาศาลนั่นเอง

ในสมัยที่ผมเริ่มเปิดเว็บไซต์ใหม่ๆ นั้น ผมงงงวยอยู่ไม่น้อยว่า ผมควรจะใช้ WordPress plugin ตัวไหนบ้างเพื่อทำให้เว็บไซต์ของผมพร้อมที่สุดในการ publish บทความดีๆ และผมเชื่อว่า Blogger มือใหม่ที่เพิ่งจะเข้ามาใช้ WordPress น่าจะสงสัยแบบเดียวกับผมเช่นเดียวกัน

ดังนั้นในโพสนี้ ผมจะรวบรวม WordPress plugin ที่ Blogger มือใหม่ทุกคนควรจะมีไว้ติดเว็บไซต์ของคุณครับ

เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

WordPress Plugin
WordPress Plugin

1. Elementor

Elementor เป็น WordPress plugin ชั้นยอดที่มีการใช้งานมากกว่า 5,000,000 เว็บไซต์ หน้าที่ของ plugin นี้คือจะช่วยคุณสร้าง landing page หรือ homepage และหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายด้วยระบบ Drag & Drop (พูดง่ายๆคือ เลือก template ที่สร้างมาดีอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็ลากและวางสิ่งที่คุณต้องการ)

ลองดูการใช้งาน Elementor คร่าวๆ จากวีดิโอด้านล่าง (คลิก play ได้เลยครับ)

การดีไซน์เว็บไซต์ด้วย Elementor จึงไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่อง coding ใดๆ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับเว็บไซต์สำเร็จรูปเลยครับ

Plugin ตัวนี้จะช่วยกลบจุดอ่อนของ WordPress ที่คุณไม่สามารถแก้ไขหน้าของเว็บไซต์ได้แบบ Live Editing (โดยเฉพาะถ้าคุณไม่ได้ใช้ Premium WordPress theme) และทำให้คุณเนรมิตเว็บไซต์ที่สวยงามได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องจ้างฟรีแลนซ์ครับ

ฟีเจอร์ของ Elementor นั้นผมมองว่าครบถ้วนสมบูรณ์มาก อาทิเช่น

  • Website Editor – สร้างหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายด้วยระบบ Drag & Drop การดีไซน์ทุกอย่างสามารถทำได้ในหน้าเดียว โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดไปเปิดมาให้รู้สึกรำคาญใจ และยังปรับแต่งรายละเอียดต่างๆ เช่นสีและ font ได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่ต้องอาศัยการทักษะการ coding แต่อย่างใด
  • Popup Builder – สร้าง Popup อันสวยงามเพื่อดึงความสนใจของผู้เข้าชม, แจ้งข่าวสาร หรือว่าขายสินค้าบนเว็บไซต์ของคุณได้
  • Forms Builder – สร้าง Forms อย่างเช่น Contact Us อย่างสวยงามเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมรู้สึกอยากจะ Subscribe เป็นสมาชิกใน Blog ของคุณ
  • Widgets – Elementor สามารถช่วยให้คุณสร้าง Widgets หลายสิบแบบ เช่นปุ่ม CTA, สารบัญ, Gallery รูปภาพ ฯลฯ สำหรับรายชื่อ Widgets ที่สร้างได้ทั้งหมด ดูได้ที่นี่
  • Integration – Elementor สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องมือตัวอื่นๆ อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น Social Network อย่าง Facebook หรือเครื่องมือ Email Marketing อย่างเช่น MailChimp
  • Woocommerce Builder – สำหรับ Blogger คนไหนที่อยากขายสินค้าบนเว็บไซต์ของคุณด้วย คุณสามารถลง Woocommerce Plugin และให้ Elementor สร้างหน้าขายสินค้าที่สวยๆ และใช้ขายสินค้าได้จริงออกมาได้
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

โดยรวมแล้วผมชอบความ All-in-one ของ Elementor มาก เพราะทำให้ผมไม่จำเป็นต้องลง WordPress plugin ที่ใช้ดีไซน์เว็บไซต์หลายตัว เพราะตัวนี้ตัวเดียวจัดการได้แทบจะทุกอย่างเลยครับ

สำหรับเรื่องราคานั้น Elementor ใช้คุณใช้งานเบี้องต้นได้ฟรีตลอดชีพ แต่ template, Widgets ตลอดจนฟีเจอร์ต่างๆ ที่ใช้ได้จะจำกัด ดังนั้นถ้าคุณอยากจะเปิดกว้างการออกแบบเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นจาก WordPress ของคุณ ผมแนะนำให้สมัครสมาชิกแบบเสียเงินครับ โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ $49 หรือ 1,470 บาทต่อปี แต่รวมแล้วคุ้มค่าอย่างแน่นอน

2. Security Plugin

Security Plugin คือ WordPress plugin ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ของคุณ และคอยสกัดกั้นเหล่า Hacker ทั้งหลายที่อาจจะนำ Adware หรือ Malware มาใส่ในเว็บไซต์ของคุณ หรือพูดง่ายๆ เหมือนกับ “ยาม” นั่นเองครับ

ithemes Security
iThemes Security

ผมบอกเลยว่า plugin ประเภทนี้คุณต้องลงไว้ใน WordPress 1 ตัว ถ้าคุณไม่อยากให้เว็บไซต์ของคุณเป็นเหยื่ออันโอชะของเหล่า Hacker

ทั้งนี้โปรดอย่าคิดว่าการโดน Hack จะเกิดขึ้นไม่ได้กับเว็บไซต์ขนาดเล็ก จริงๆ แล้วมันเกิดขึ้นได้บ่อยมาก เพราะเว็บไซต์ขนาดเล็กมีการรักษาความปลอดภัยทางด้าน Cybersecurity ที่ต่ำกว่าเว็บไซต์ขนาดใหญ่ ดังนั้นเหล่า hacker จึงมองว่าเว็บไซต์อย่างเราๆ เป็น “หมูในอวย”

อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่า Security plugin จะเหมาะกับมือใหม่ทุกตัว คุณควรเลือกใช้ตัวที่ใช้งานง่าย และไม่ต้องใช้ความรู้อะไรมากนัก และจัดการทุกอย่างได้แบบ All-in-one ตัวที่ผมเคยใช้และคิดว่าดีได้แก่

โดยทั่วไปแล้ว plugin เหล่านี้จะมีให้ใช้งานสองรูปแบบ นั่นคือแบบ Free และแบบ Pro โดยแบบฟรีแน่นอนว่าฟีเจอร์ต่างๆ จะจำกัดมากกว่า อย่างเช่นอาจจะไม่สามารถสแกนหา malware ในเว็บไซต์ได้ แต่ถ้าแบบ Pro จะทำได้ทุกอย่างครับ

ผมแนะนำว่าในช่วงแรก คุณอาจจะใช้เป็นแบบฟรีไปก่อนก็ได้ และเมื่อคุณมีรายได้จากเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น คุณถึงจะอัพเดตเป็นแบบ Pro ครับ โดยทั่วไปแล้วราคาแบบ Pro จะอยู่ที่ $80-$99 แล้วแต่ผู้ให้บริการครับ

อย่างไรก็ดีแม้ว่าคุณจะใช้ WordPress Plugin แล้วแต่ไม่ได้แปลว่าเว็บไซต์คุณจะไม่โดน Hack 100% นะครับ คุณยังมีโอกาสโดนได้อยู่เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะน้อยมากๆ ก็ตาม

แต่ถ้าคุณเกิดโดนขึ้นมาจริงๆ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะคุณสามารถใช้บริการ malware removal ที่จะมีผู้เชี่ยวชาญมาล้าง malware หรือสิ่งที่ hacker ทิ้งไว้ออกไปจากเว็บไซต์ของคุณครับ

3. UpdraftPlus

UpdraftPlus เป็น WordPress plugin ที่จะช่วยให้คุณสร้าง Backup ให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดย Backup เหล่านี้จะถูกนำมาใช้ reset เพื่อทำให้เว็บไซต์กลับเป็นเหมือนเดิม ในกรณีที่คุณเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างแล้วเกิดปัญหาเช่นเว็บล่ม หรือว่าถ้าโดน hack เป็นต้นครับ

Updraftplus
UpdraftPlus

ข้อดีของ Updraftplus คือคุณสามารถสร้าง Backup แบบ manual หรือแบบอัตโนมัติก็ได้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วคุณสามารถสั่งให้ Updraftplus นำ backup ไปเก็บไว้ใน Google Drive ได้ หรือว่าจะดาวน์โหลดมาเก็บไว้ใน PC ของคุณก็ได้เช่นกันครับ

WordPress plugin ตัวนี้จัดว่าเป็นตัวที่ “จำเป็น” เพราะว่า shared hosting ส่วนใหญ่ (ยกเว้น SiteGround) จะไม่มีบริการ backup ให้ฟรีเว้นเสียว่าคุณจะเพิ่ม option เสริมแล้วเสียเงินเพิ่ม

ส่วนใหญ่แล้ว blogger หน้าใหม่จะไม่ได้ใช้บริการตรงนี้ นั่นแปลว่าถ้าเกิดเรื่องอะไรขึ้นมาจริงๆ คุณจะไม่มี backup ที่ reset เว็บไซต์ให้เป็นปกติเลยครับ บทความที่คุณเขียนมาอาจจะหายไปหมดเลยก็ได้

ทั้งนี้ Updraftplus ให้คุณใช้งานได้ฟรี แต่ถ้าคุณต้องการฟีเจอร์เสริมอย่างเช่นนำไฟล์ Backup ไปเก็บไว้ใน OneDrive ได้ คุณจะต้องจ่ายค่าสมาชิกในราคา $70 หรือ 2,100 บาทในปีแรก และ $42 (1,260 บาท) ในปีต่อๆ ไป แต่ผมมองว่าแบบฟรีก็เพียงพอต่อความต้องการแล้วครับ

4. SEO Plugin

SEO Plugin คือ WordPress plugin ระดับไม่มีไม่ได้ เพราะว่า plugin เหล่านี้จะช่วยทำให้คุณได้ ranking ที่ดีขึ้นจาก Google search ทำให้มีคนเห็นเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น และเข้ามาอ่านบทความของคุณมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ traffic ของ Google นั้นไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบ traffic ที่ยั่งยืนที่สุดในทุกรูปแบบครับ

SEO Plugin ที่น่าสนใจได้แก่

  • Yoast SEO – น่าจะเป็น plugin สำหรับ SEO ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดแล้ว ช่วยให้คุณเรื่อง SEO ได้ทุกอย่างตั้งแต่ Keyword Optimization ไปจนถึง Indexing
  • RankMath – อีกหนึ่ง SEO Plugin ที่น่าสนใจ จัดการได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น SEO Analyzer, Schema Markup, Keyword Ranking

โดยส่วนตัวแล้วคุณจะใช้ตัวไหนก็ได้ อย่างผมเองก็เคยลองใช้มาแล้วทั้งคู่ แต่สุดท้ายชอบ Yoast SEO มากกว่าครับ

5. Caching Plugin

Caching Plugin เป็น WordPress plugin ที่มีหน้าที่หลักคือทำให้เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วขึ้นผ่านการสร้าง Cache ครับ เว็บไซต์ที่เร็วขึ้นนั้นเป็นส่งผลในแง่บวกต่อการจัดอันดับของ Google รวมไปถึงทำให้ User ใช้งานง่ายขึ้นอีกด้วย

Wp Rocket
WP Rocket

ดังนั้นไม่ต้องสงสัยว่า เว็บไซต์ของคุณต้องการ Caching plugin สักตัวหนึ่งอย่างแน่นอน สำหรับตัวที่ผมมองว่าดีได้แก่

  • WP Rocket – เป็น Caching plugin ใช้งานง่ายที่สุดและไม่ต้องอาศัยความรู้อะไรมากนัก แถมยังมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ข้อเสียคือใช้งานไม่ฟรีครับ แต่ถ้าเป็นมือใหม่ ผมแนะนำให้เสียๆ ไปเถอะ ดีกว่าใช้ตัวอื่นแล้วเว็บไซต์พังครับ
  • W3 Total Cache
  • WP Super Cache

สองตัวหลักผมเคยใช้ และพบว่าใช้ดีใช้ได้ แต่ว่า WP Rocket เหนือกว่ามากทั้งด้าน performance และความง่ายในการใช้งาน สุดท้ายเลยยอมเสียเงินซื้อ WP Rocket ครับ

6. Image Compression Plugin

สำหรับ Blogger ทุกคน การใช้รูปภาพประกอบบทความเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่รูปภาพบางรูปมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่มาก ซึ่งส่งผลต่อความเร็วในการโหลดในแต่ละหน้าอย่างมาก ดังนั้นการมี plugin ที่ช่วยลดขนาดไฟล์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

Image compression plugin ที่น่าสนใจได้แก่

  • WP Smush – ตัวนี้ผมใช้มานานเกือบสองปีแล้ว ใช้ดีไม่เคยมีปัญหาอะไรครับ
  • ShortPixel
  • reSmush.it

การใช้งานจะมีทั้งแบบฟรีแบบโปร สำหรับ WP Smush ที่ผมใช้งานแล้ว ผมมองว่าแบบฟรีก็เพียงพอแล้วครับ

7. Ad Inserter

Ad Inserter คือ WordPress Plugin ที่ช่วยในการจัดการโฆษณาของคุณไม่ว่าจะเป็น Google Adsense หรือ Affiliate marketing กล่าวคือ ตัว plugin จะช่วยใส่โฆษณาในจุดและหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ที่คุณต้องการแบบ Global

นั่นหมายความว่าคุณไม่ต้องนำ code มา paste ใส่ในทุกๆ บทความให้เหนื่อยครับ เพราะ plugin จะใส่ให้แบบอัตโนมัตินั่นเอง โดยส่วนตัวผมใช้มาแล้ว 2 ปี ทุกอย่างก็เรียบร้อยดี ไม่เคยมีปัญหาแต่อย่างใด

WordPress Plugin ตัวอื่นๆ

สำหรับ WordPress Plugin ตัวอื่นๆ ผมมองว่าขึ้นอยู่กับความต้องการ Blogger แต่ละคนครับ

ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณเป็นเว็บไซต์รีวิว คุณอาจจะใช้ WP Product Review เสริมเข้าไป หรือว่าถ้าอยากขายสินค้าด้วยอาจจะใส่ Woocommerce ถ้าคุณต้องการเว็บไซต์หลายภาษาก็ใส่ Polylang ถ้าคุณเปิดให้ comment หรือให้ user สร้าง content ได้ก็อาจจะใช้ Akismet Anti-Spam เป็นต้น

ข้อควรทราบในการใช้งาน WordPress Plugin

การใช้งาน WordPress Plugin นั้นดูเหมือนว่าจะใช้ง่ายและสะดวกสบาย แต่จริงๆ แล้วมีข้อควรทราบอีกหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น

  • Plugin ที่คุณใช้ควรจะมาจากแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้เท่านั้น ในการใช้งาน WordPress plugin คุณควรจะ Install จาก WordPress เอง หรือไม่ก็มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้จริงๆ ถ้าเป็น plugin ที่ไม่มีที่มาที่ไป คุณไม่ควรจะใช้เด็ดขาด เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการโดน hack หรือ malware ครับ
  • ก่อนจะลง plugin ควรอ่านรีวิวก่อน เพราะ plugin บางตัวถูกสร้างมาไม่ดีนัก ทำให้เว็บไซต์ของคุณโหลดช้าไปโดยปริยาย หรือเลวร้ายกว่านั้นคือทำให้เว็บล่ม และเป็นช่องโหว่ที่ให้ hacker บุกเข้ามา
  • คุณไม่ควรใช้ Plugin ที่ developer ไม่ support แล้ว นั่นแปลว่าจะไม่มีการอัพเดตด้านความปลอดภัยให้ทันต่อสถานการณ์ทางด้าน cybersecurity อีกต่อไป จัดว่าเสี่ยงต่อการโดน hack เป็นอย่างยิ่ง
  • คุณควรลง Plugin ที่จำเป็นเท่านั้น และไม่ควรลง WordPress plugin มาเยอะๆ จนเกินความต้องการ เพราะจะทำให้เว็บไซต์ของคุณช้าลง และยังเพิ่มช่องโหว่ในการ hack ของเว็บไซต์ด้วย ถ้าคุณเลิกใช้ Plugin สักตัวหนึ่งแล้ว คุณควร Uninstall plugin ตัวนั้นไปเลยครับ
  • Update Plugin ทันทีเมื่อมี version ใหม่ออกมา เพราะบางครั้งเป็นการอุดช่องโหว่ทางด้าน cybersecurity โดยทางผู้พัฒนา หรือปรับปรุงการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น ไม่แนะนำอย่างยิ่งให้ดองครับ
  • ระวัง Plugin conflict ในบางกรณี plugin สองตัวของคุณอาจจะทำงานขัดกันเอง และทำให้เว็บไซต์ล่มหรือเกิด error แปลกๆได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมาจริงๆ ผมแนะนำให้เปิด Troubleshooting mode และไล่เปิด plugin ทีละตัวเพื่อดูว่าตัวไหนสร้างปัญหา แล้วจึงปิดมันทิ้งเสีย แต่ถ้าเว็บล่มถึงขนาดเข้า WP Admin ไม่ได้ คุณต้องติดต่อกับ Customer Support ของ Host ครับ

บทความการศึกษา

Victory Tale ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความไปโพสที่ใดทุกกรณี การฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย

error: Content is protected !!