เทคโนโลยีซอฟต์แวร์3 สุดยอด SEO Tools สำหรับการทำ SEO ด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ

3 สุดยอด SEO Tools สำหรับการทำ SEO ด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ

SEO Tools หรือเครื่องมือที่ใช้ทำ SEO เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ของเจ้าของเว็บไซต์ทุกคน เครื่องมือเหล่านี้มีหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวช่วยหา keyword, เครื่องมือตรวจสอบ backlink, ตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณว่ามีปัญหาตรงไหนหรือไม่ หรือแม้กระทั่งตรวจสอบ Ranking ของคุณโดยอัตโนมัติ

จะว่าไปเครื่องมือเหล่านี้ก็คือตัวช่วยทำ SEO ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ได้ง้อบริษัทรับทำ SEO นั่นเองครับ

การทำ SEO ด้วยวิธีนี้อาจจะเห็นผลช้ากว่าการจ้างบริษัทมาทำ SEO ให้ แต่ในระยะยาวจะยั่งยืนกว่า เพราะคุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้บริษัททำ SEO ตลอดไป และปิดโอกาสที่คุณอาจจะโดน penalty จากการทำ SEO จากบางบริษัทที่อาจจะผิดกฎของ Google ด้วยครับ

อย่างไรก็ดี SEO Tools แต่ละตัวก็มีฟีเจอร์ที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับราคาที่อาจจะต่างกันมาก บางตัวอาจจะมีราคาเริ่มต้นที่ $99 หรือประมาณ 2,970 บาทต่อเดือน ขณะที่บางตัวราคาจะอยู่ที่ 1 ใน 3 ของตัวดังกล่าวเท่านั้นเองครับ

สำหรับโพสนี้ เราจะมาดูกันว่าเครื่องมือทำ SEO ตัวไหนน่าใช้งานบ้าง

ข้อควรทราบ: ราคาและเงื่อนไขต่างๆ ของการใช้งานอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ โปรดตรวจสอบกับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอีกครั้งเพื่อความชัดเจนครับ

1. SEMRush  

ถ้าจะให้เอ่ยถึง SEO Tool ที่ครบเครื่องเรื่องการทำ SEO มากที่สุด ผมมองว่ายังไง SEMRush ก็อยู่ในอันดับ 1 หรือ 2 อย่างแน่นอน เพราะเรื่องคุณภาพของฟีเจอร์ที่มาเป็นอันดับต้นๆ อย่างไม่ต้องสงสัยเลยครับ 

อย่างไรก็ดีราคาของ SEMRush นั้นทำให้เป็น SEO Tool แบบพรีเมียมไปโดยปริยาย ดังนั้นคุณจะใช้งาน SEMRush นั่นแปลว่าคุณลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่พอสมควร แต่แน่นอนว่าสิ่งที่คุณจะได้นั้นคุ้มค่าอย่างแน่นอนครับ

ีเจอร์ของ SEMRush  

Domain Analytics – ฟีเจอร์นี้คือฟีเจอร์หลักของ SEMRush เลยก็ว่าได้ เพราะคุณจะสามารถทำ research ในส่วนของ Domain (ทั้งของคุณเองและของคู่แข่ง) ว่ามี Authority เท่าไร มี Backlink เท่าไรและมีอะไรบ้าง รวมไปถึงมีแนวโน้มของ traffic เป็นอย่างไร เพื่อที่คุณจะได้ปรับแก้และแข็งขันในสมรภูมิ SEO ได้ดียิ่งขึ้นครับ

Keyword Research – SEMRush นั้นเป็น keyword explorer ที่ยอดเยี่ยมด้วยเช่นกัน คุณสามารถสรรหา keyword ชั้นยอดจากแพลตฟอร์มของ SEMRush ที่จะให้ข้อมูลอย่างละเอียดมาก ไม่ว่าจะเป็น CPC, Trend, Monthly Volume ฯลฯ เรียกได้ว่าค้นออกมาได้ทุกซอกทุกมุมเลยครับ

สำหรับ keyword ภาษาไทย SEMRush ก็สามารถหาให้คุณได้อย่างสบายๆ ครับ

Rank Tracking – สำหรับใครที่ชอบตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณมี ranking ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรใน Google ทาง SEMRush จะจัดการในส่วนนี้ให้กับคุณ และจะมีแจ้งเตือนด้วยถ้า Rank ของคุณมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

Site Audit – SEMRush จะทำหน้าที่ตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณว่ามี error ตรงไหนหรือไม่ อย่างเช่น broken links (เปิดเข้าไปแล้วเจอ 404 Error) เพื่อที่คุณจะได้แก้ไขและทำให้เว็บไซต์ของคุณมี User Experience ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยในส่วนของ SEO อย่างมากเลยครับ

On Page SEO Checker – SEMRush จะช่วยตรวจสอบว่า On page SEO ในบทความของคุณดีพอแล้วหรือยัง และมีตรงไหนที่ควรแก้ไขหรือ optimize เพิ่มเติมบ้าง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้โพสดังกล่าวมี Ranking ที่ดีขึ้น

Backlink Analytics – เครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบและรายงานข้อมูลของ Backlink อย่างละเอียด ซึ่งจะช่วยในการทำ off page SEO นอกจากนี้ตัวเครื่องมือจะแนะนำวิธีการและตัวเลือกในการทำ outreach เพื่อเพิ่ม backlink ของคุณอีกด้วย

PPC Advertising Toolkit – SEMRush จะให้เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโฆษณาผ่านทาง Google Ads ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจตลาด (Market Research), Keyword Gap หรือเครื่องมือที่ใช้หา keyword ที่คู่แข่งใช้งานอยู่ ฯลฯ

Content Marketing Platform – เครื่องมือพิเศษที่จะช่วยให้คุณสร้าง content ดีๆ ในเว็บไซต์หรือ Social Media ของคุณ โดย SEMRush จะช่วยหาหัวข้อที่น่าสนใจมาเขียนเป็นบทความ, เตรียมข้อมูลมาให้อย่างเรียบร้อย, ช่วยในส่วนของ SEO Writing นอกจากนี้ยังเช็คในส่วนของ plagiarism ให้คุณอย่างอัตโนมัติอีกด้วย

Competitive Intelligence – ฟีเจอร์นี้เป็นฟีเจอร์ระดับพรีเมียมที่จะช่วยให้คุณสำรวจตลาดและคู่แข่งอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกส่งตรงมาให้คุณอ่านอย่างสะดวกสบายผ่านทางแพลตฟอร์มของ SEMRush ครับ

โดยรวมแล้ว SEMRush ถือว่ามีทุกอย่างที่ SEO Tools ที่ดีควรจะมี และยังมีฟีเจอร์มากมายเพิ่มเข้าไปอีกจนเกินเครื่องมือทำ SEO ทั่วไปไปแล้ว ผมจึงมองว่า SEMRush จัดว่าเป็นสุดยอดเครื่องมือ Digital Marketing เลยก็ได้ครับ

นอกจากนี้ SEMRush ยังเพิ่มฟีเจอร์ดีๆ เข้ามาอีกเรื่อยๆ ด้วย ทำให้การลงทุนกับ SEMRush เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าอย่างมากเลยครับ

ราคาของ SEMRush 

SEMRush ใช้ระบบสมาชิกเช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ทั่วไป โดยประกอบด้วย 3 ราคาได้แก่

  • Pro – เริ่มต้นที่ $83 หรือประมาณ 2,490 บาทต่อเดือน
  • Guru – เริ่มต้นที่ $166 หรือประมาณ 4,980 บาทต่อเดือน
  • Business – เริ่มต้นที่ $333 หรือประมาณ 9,990 บาทต่อเดือน

ความแตกต่างหลักๆ ของสามแพลนนี้อยู่ที่ฟีเจอร์และทรัพยากรครับ อย่างแพลน Pro จะไม่สามารถใช้ฟีเจอร์อย่าง Content Marketing Platform ได้เลย และจะมีการจำกัดความละเอียดของข้อมูลด้วยครับ

ในส่วนของทรัพยากร แพลน Guru และ Business จะได้มากกว่า อย่างเช่น Search หา Keyword ได้ถึง 3,000 ครั้งต่อวัน และ track จำนวน keyword ใน Google ได้มากกว่าเป็นต้น

อย่างไรก็ดีทั้งสามแพลนจะไม่สามารถใช้ฟีเจอร์อย่าง Competitive Intelligence ได้ เพราะ SEMRush จะคิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็น Add ons ครับ โดยราคาจะเริ่มต้นที่ $167 หรือประมาณ 5,010 บาทต่อเดือน ราคานี้จะบวกเข้าไปในราคาแพลนตั้งต้นของคุณครับ

เลือกใช้แพลนไหนดี? 

การจะเลือกใช้แพลนไหนของ SEMRush ดีนั้น ผมมองว่าขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการใช้ SEMRush เพื่ออะไร

ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณต้องการ SEMRush ในฐานะ SEO Tools ทั่วไป อย่างเช่นการสร้าง Backlink, การหา keyword, การ audit เว็บไซต์ของคุณ ผมมองว่าแพลน Pro ก็เพียงพอแล้วครับ

แต่ถ้าต้องการลงทุนกับการทำ SEO จริงๆ หวังผลระยะยาว และอยากที่จะ optimize ทุกบทความบนเว็บไซต์ให้เต็มประสิทธิภาพ การใช้แพลน Guru ก็เป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยม เพราะเครื่องมืออย่าง content marketing platform จะช่วยให้คุณเนรมิต content ใหม่ๆ ขึ้นมาได้มากมายอย่างไม่จำกัด และกำจัดปัญหาที่เกิดขึ้นใน on-page SEO ให้สูญพันธุ์ไปด้วยครับ

สำหรับแพลน Business นั้นจะเหมาะกับเหล่า SEO Agency มากกว่าเพราะจะเพิ่มทรัพยากรการใช้งานให้มากขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นสำหรับเว็บไซต์หรือธุรกิจออนไลน์ทั่วไปครับ

ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ ผมว่าสมัคร account ฟรีไปก่อนก็ได้ครับ เพราะ SEMRush ให้คุณใช้งาน Keyword Research ฟรี (10 ครั้งต่อวัน) และ Rank Tracker ได้ฟรีบางส่วนอีกด้วย

2. Ahrefs  

Ahrefs เป็นอีกหนึ่ง SEO Tool ที่ได้รับความนิยมล้นหลาม และมีศักยภาพแบบ All-in-one เหมือนกับ SEMRush เราไปดูกันดีกว่า Ahrefs สามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง  

ฟีเจอร์ของ Ahrefs 

ฟีเจอร์ของ Ahrefs แบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่  

Site Audit – ฟีเจอร์นี้จะช่วยตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณในด้านต่างๆ เพื่อดูว่า Optimize กับการทำ SEO แล้วหรือยัง คุณจะได้ข้อมูลต่างๆ มากมายว่ามีส่วนไหนที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณไม่สามารถ Rank ได้อย่างที่ควรจะเป็นบ้าง อย่างเช่นขาด H1 Tag, Page Speed ช้าเป็นต้น  

หลังจากนั้น Ahrefs จะให้คำแนะนำในการปรับแก้เพื่อลดปัญหาดังกล่าวครับ  

Site Explorer – Site Explorer คือเครื่องมือที่จะเจาะลึกข้อมูลต่างๆ ของโดเมนใดโดเมนหนึ่ง แน่นอนว่าจะเป็นเว็บไซต์ของคุณหรือคู่แข่งก็ได้ครับ ซึ่งเครื่องมือตัวนี้จะมีฟีเจอร์ย่อยสามชนิดได้แก่  

  • Organic Traffic Research – คุณสามารถ search ได้อย่างละเอียดว่าเว็บไซต์ของคุณและคู่แข่งได้ Organic Traffic มาจากไหนบ้าง และใช้ keyword ใดในการได้มาซึ่ง traffic ดังกล่าว
  • Backlink Checker – ตัวนี้จะตรวจสอบว่าโดเมนดังกล่าวมี Backlink เท่าไร และมีอะไรบ้าง ในส่วนของ Backlink นั้นผมต้องยอมรับว่าฐานข้อมูลของ Ahrefs นั้นใหญ่จริงๆ และมักจะหาลิงค์ที่แพลตฟอร์มอื่นหาไม่เจอได้อยู่บ่อยๆ ครับ
  • Paid Traffic Research – ตรวจสอบว่าคู่แข่งของคุณใช้โฆษณาแบบ PPC หรือไม่ และส่ง traffic ไปที่ landing page ไหนอย่างไร ฯลฯ

Keywords Explorer –  Ahrefs จะช่วยคุณสรรหา keyword ชั้นยอดออกมาอย่างละเอียด และให้ข้อมูลดีๆ อย่างเช่น Volume, Clicks, CPC, Difficulty รวมไปถึง Keyword Ideas อีกนับร้อยนับพัน ทั้งในรูปแบบของ Questions และ Phrase Match และอื่นๆ อีกมากมายเลยครับ  

ในส่วนของข้อมูลต่างๆ นี้ Ahrefs ให้ข้อมูลอย่างละเอียดมาก และมีข้อมูลในอดีตเพื่อช่วยในการวิเคราะห์แบบระยะยาวด้วยครับ  

อย่างไรก็ดีจุดแข็งที่ผมมองว่าโดดเด่นและยอดเยี่ยมมากก็คือ นอกจาก Google แล้ว คุณยังสามารถหาข้อมูล keyword ของเว็บไซต์อื่นๆ อย่างเช่น Youtube, Amazon, Bing และ Yahoo ได้ด้วยในแพลตฟอร์มเดียว ซึงถ้าคุณเป็น Youtuber แล้ว Ahrefs จะช่วยคุณอย่างมากในการทำ SEO เลยครับ

Rank Tracker – ผมเชื่อว่าเจ้าของเว็บไซต์ทุกคน รวมไปถึงตัวผมเองด้วย ล้วนแต่ต้องการจะทราบว่าในแต่ละวัน Ranking ของเราใน search engine เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งเครื่องมือของ Ahrefs สามารถช่วยติดตามให้คุณได้อย่างละเอียดครับ  

ไม่ว่าจะเป็น Featured Snippets, Adwords, Top Stories, Images ฯลฯ คุณก็ตรวจสอบได้ทั้งหมดว่า Ranking ของคุณอยู่ที่ไหนอย่างไร  

Content Explorer – เครื่องมือตัวนี้จะช่วยคุณหา content ที่ perform ได้อย่างดีใน niche ของคุณ เพื่อที่คุณอาจจะสร้าง content ในส่วนดังกล่าวบ้าง หรืออาจจะใช้ในการสร้าง backlink ของคุณก็ได้ครับ  

ราคาของ Ahrefs  

Ahrefs คิดราคาในรูปแบบของสมาชิกรายเดือน โดยแบ่งออกเป็น 4 แพลนด้วยกัน ได้แก่

  • Lite – เริ่มต้นที่ $82 หรือประมาณ 2,460 บาทต่อเดือน
  • Standard – เริ่มต้นที่ $149 หรือประมาณ 4,470 บาทต่อเดือน
  • Advanced – เริ่มต้นที่ $332 หรือประมาณ 9,960 บาทต่อเดือน
  • Agency – เริ่มต้นที่ $832 หรือประมาณ 24,960 บาทต่อเดือน

ทุกแพลนได้ฟีเจอร์เหมือนกันหมด แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือทรัพยากรและความละเอียดของข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น

แพลน Lite จะให้โควตาในการหา Keyword ได้เพียง 175 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น แต่แบบ Standard จะใช้ได้ 700 ครั้งเป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลของแบบ Lite จะย้อนหลังไปไม่ไกล ต่างจากแพลนอื่นที่ไปได้ไกลกว่าครับ

เลือกแพลนไหนดี 

ถ้าคุณเป็นเจ้าของเว็บไซต์ หรือ เจ้าของธุรกิจ e-commerce ขนาดเล็กและกลาง ผมมองว่าการใช้งานแบบ Lite นั้นเพียงพอสำหรับคุณแล้ว เพราะอย่างที่ผมได้อธิบายไป ทุกแพลนได้ฟีเจอร์เหมือนกันหมด ดังนั้นถ้าคุณจ่ายแพลนที่มีราคาสูง คุณก็จะได้ทรัพยากรเพิ่มเข้ามาที่อาจจะใช้ไม่หมดอยู่แล้วครับ  

สำหรับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา ผมมองว่ากลยุทธ์ที่น่าสนใจคือ คุณอาจจะลองสมัครแพลน Lite แบบรายเดือนดูก่อน และพิจารณาว่าทรัพยากรของแพลนดังกล่าวนั้นเพียงพอกับความต้องการของคุณหรือไม่  

ถ้าคุณพบว่าไม่พอ คุณถึงอัพเกรดแพลนของคุณให้เป็นแบบ Standard หรือสูงกว่านั้นครับ  

SEMRush vs Ahrefs

ทั้งสองตัวเป็นเครื่องมือทำ SEO ที่มีฟีเจอร์ใกล้เคียงกันมาก เช่นเดียวกับราคา คุณภาพของฟีเจอร์เองก็สูสีมาก เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบจึงเหมือนกับยักษ์ชนยักษ์เลยทีเดียว  

โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่าทั้งสองตัวเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมทั้งคู่ แม้ว่าจะราคาสูงกว่าเครื่องมือตัวอื่นๆ ที่ผมจะแนะนำต่อไปก็ตาม อย่างไรก็ดีถ้าให้ผมเลือก 1 ตัว ผมจะเลือก SEMRush เพราะ 

  • ฟีเจอร์โดยรวมหลากหลายกว่า Ahrefs โดยเฉพาะ Content Marketing Platform ที่ช่วยในการเขียนบทความได้อย่างยอดเยี่ยม แถมยังมี SEO Writing Assistant ให้ใช้งานอีกด้วย
  • ในเรื่องทรัพยากร ผมมองว่าการที่ Ahrefs Lite ให้ search ได้แค่ 175 ครั้งต่อสัปดาห์ (แต่ใส่ keyword กี่ตัวก็ได้) นั้นไม่เหมาะกับผมเท่าไร เพราะว่ากันตามตรงในการเขียนบทความและผลิต content ของผม ผมชอบการ search แบบคำต่อคำมากกว่า (ขี้เกียจรวบรวม keyword เยอะๆ มาแล้ว search ทีเดียว ดังนั้น SEMRush Pro ที่ให้ผม search ได้ 3,000 ครั้งจึงตอบโจทย์ผมมากกว่าครับ
  • User Interface ของ SEMRush สบายตามากกว่า

อย่างไรก็ดีในส่วนนี้ก็เป็นความชอบส่วนบุคคลครับ ผมแนะนำให้คุณลองใช้เครื่องมือทั้งคู่ก่อนที่จะตัดสินใจครับ  

3. Mangools 

Mangools คือตัวเลือก SEO Tools ที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของเว็บไซต์หรือธุรกิจที่มีงบประมาณจำกัดในการทำ SEO หรือต้องการหาเครื่องมือทรงประสิทธิภาพในราคาที่ย่อมเยา

ถ้าเทียบกับ SEMRush หรือ Ahrefs แล้ว Mangools จะมีฟีเจอร์ที่น้อยกว่าอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับทรัพยากรที่น้อยกว่าด้วย แต่สิ่งที่แลกมาก็คือราคาที่ถูกกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนประสิทธิภาพของตัวเครื่องมือนั้น ผมบอกได้เลยว่าไม่ได้ห่างไกลจากสองตัวพรีเมียมด้านบนเท่าไรนัก

เราไปดูฟีเจอร์ของ Mangools กันดีกว่าครับ

ฟีเจอร์ของ Mangools

ฟีเจอร์ของ Mangools ไม่มีความซับซ้อนใดๆ แต่จะช่วยคุณทำ SEO ใน 4 ด้านด้วยกัน โดยเครื่องมือจะประกอบด้วย

KWFinder – เครื่องมือในการทำ Keyword Research ของ Mangools จากที่ลองใช้มา ผมชอบเครื่องมือตัวนี้มาก เพราะว่าให้ข้อมูลที่ละเอียดมาก แถมหน้าตาของการแสดงผลยังสวยงามและเป็นรูปแบบ Intuitive นอกจากนี้ยังสามารถหา keyword แบบ Autocomplete ให้คุณได้อีกด้วย

ในการค้นหายังทำได้ในส่วนของตัว keyword โดยตรง และหาผ่าน domain ซึ่งไม่ต่างอะไรกับที่ SEMRush และ Ahrefs ทำได้ครับ

SERPChecker – SERPChecker เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจครับ เพราะมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณตรวจสอบได้ว่าคู่แข่งของคุณที่ได้ Rank ดีๆ ใน Keyword ที่คุณกรอกลงไปนั้น มีสถิติอะไรเท่าไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น Domain Authority (DA), Backlink ฯลฯ โดยตัวขี้วัดที่มีให้ตรวจสอบมีมากกว่า 45 ตัวเลยทีเดียว

นอกจากนี้เครื่องมือตัวนี้ยังช่วยคุณตรวจสอบด้วยว่า ถ้าคุณได้ Featured Snippet, Answer Box หรือ Rich Snippets อื่นๆ แล้วจะส่งผลต่อยอด CTR อย่างไรบ้าง

SERPWatcher – เครื่องมือตัวนี้ค่อนข้าง simple ครับ นั่นคือจะตรวจสอบหา ranking ของคุณบน Google นั่นเองว่าอยู่ที่ลำดับเท่าไรสำหรับ keyword แต่ละตัว

LinkMiner – ตัวนี้ก็เรียบง่ายอีกเช่นเดียวกัน เพราะจะเป็นการค้นหา backlink ของเว็บไซต์ของคุณ และแสดงผลให้คุณทราบว่ามีจำนวนเท่าไร และมีอะไรบ้าง

SiteProfiler – เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบเว็บไซต์ชองคุณเองรวมไปถึงคู่แข่งอย่างละเอียด เพื่อให้คุณทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณและคู่แข่ง และนำไปใช้พัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้ outrank พวกเขาต่อไปครับ

ราคาของ Mangools  

Mangools คิดราคาในรูปแบบสมาชิกเช่นเดิม โดยจะมี 3 แพลนด้วยกันได้แก่

  • Basic – เริ่มต้นที่ $29.90 หรือประมาณ 900 บาทต่อเดือน
  • Premium – เริ่มต้นที่ $39.90 หรือประมาณ 1,200 บาทต่อเดือน
  • Agency – เริ่มต้นที่ $79.90 หรือประมาณ 2,400 บาทต่อเดือน

แต่ละแพลนไม่มีความแตกต่างกันครับ ทุกแพลนมีฟีเจอร์ที่เหมือนกันทั้งหมด สิ่งที่ต่างกันอยู่ที่ทรัพยากรล้วนๆ อย่างเช่นแพลน Basic จะให้ search หา keyword ต่อวันได้แก่ 100 ครั้งเท่านั้น แต่แพลน Premium จะ search ได้ถึง 500 ครั้งด้วยกัน

เลือกแพลนไหนดี?  

โดยทั่วไปแล้ว ผมว่า Mangools เหมาะกับผู้ที่ต้องการ SEO Tool ที่มีคุณภาพสูงในการทำ SEO แต่มีงบประมาณจำกัด เพราะถ้าคุณมีงบมาก การใช้ SEMRush หรือ Ahrefs เป็นทางเลือกที่ดีกว่าอย่างแน่นอน

ดังนั้นเว็บไซต์ขนาดเล็กนั้น ผมแนะนำว่าเริ่มต้นที่แพลน Basic ก็เพียงพอแล้ว คุณสามารถหา keyword, ตรวจสอบ Ranking และทำ competitor research แบบละเอียดในราคาเริ่มต้นที่เดือนละ $29 เท่านั้นเองครับ ซึ่งจากที่เคยใช้งานมา ผมว่าทรัพยากรที่ให้เหลือเฟือครับ

หลังจากที่คุณมีทีมงานเพิ่มขึ้น คุณอาจจะเพิ่มระดับเป็น Premium เพราะจะเพิ่มผู้ใช้งานจากคนเดียวเป็น 3 คน และเพิ่มการหา keyword ต่อวันเป็น 500 ครั้ง ในราคารายเดือนที่เพิ่มเพียง $10 เท่านั้น โดยรวมแล้วจึงถือว่าคุ้มค่าอยู่ครับ

แต่ถ้าธุรกิจหรือว่าเว็บไซต์ของคุณเติบโตขึ้นมาก และอยากจะสมัครแพลน Agency ผมแนะนำว่าอย่าสมัครเลย แต่ให้เพิ่มราคาอีกนิดนึงแล้วสมัคร SEMRush หรือ Ahrefs ไปเลยจะคุ้มค่ากว่ามาก ทั้งทางด้านทรัพยากรและฟีเจอร์ครับ

ทั้งนี้ Mangools ให้คุณลองใช้ได้ฟรีเป็นเวลา 10 วันครับ

บทความการศึกษา

Victory Tale ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความไปโพสที่ใดทุกกรณี การฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย

error: Content is protected !!