Portfolio Management คือศาสตร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว เช่นเดียวกับควบคุมการลงทุนเหล่านั้นให้อยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม
หนึ่งในอาชีพหรืองานที่ข้องเกี่ยวกับ Portfolio Management มากที่สุดก็คือผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) ซึ่งเป็นอาชีพในฝันนักศึกษาจำนวนมากที่เรียนจบ Finance และสนใจในการลงทุน
อย่างไรก็ดีหลายคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการ Finance อาจจะสงสัยว่า Portfolio Management ทำอะไร ทำอย่างไร เรามาดูกันเลยดีกว่าครับ ผมจะอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด
Portfolio Management ทำอย่างไร?
หลักการของการทำ Portfolio Management นั้นมีสองแบบใหญ่ๆ ในปัจจุบัน นั่นคือ Active และ Passive
- Active Management – แบบนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะเป็นการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนให้เอาชนะดัชนี ซึ่งอาจจะเป็นดัชนีของสินทรัพย์ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น (Equity) หรือหุ้นกู้ (Bond) อย่างถ้าเป็นกองทุนหุ้นทั่วไปก็จะพยายามบริหารให้เอาชนะ SET Index หรือ SET50 Index ให้ได้เป็นต้น วิธีการแบบคลาสสิคก็คือเหลือหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาด หรือว่าขายหุ้นก่อนที่ตลาดจะลง ฯลฯ
- Passive Management – การบริหารที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะการเอาชนะดัชนีเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นวิธีการแก้ก็คือเอาผลตอบแทนของดัชนีเป็นผลการตอบแทนของพอร์ตเสียเลย ผู้จัดการกองทุนก็จะใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ มาสร้างพอร์ตการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเท่ากับตลาด หรือดัชนีที่ตั้งไว้
อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเป็น Active และ Passive ก็ล้วนแต่ต้องใช้ส่วนประกอบสามสิ่งในการทำ Portfolio Management นั่นก็คือ
- Asset Allocation หรือการจัดสัดส่วนของสินทรัพย์การลงทุนให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงสุดภายใต้ความเสี่ยงที่พอเหมาะ
- Diversification หรือการกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ต่างๆ ถ้าเป็น Active ก็จะมีการเลือกสรรสินทรัพย์ที่น่าลงทุนจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเจาะลึกมากกว่า Passive เช่นหุ้นรายตัว ฯลฯ
- Rebalancing หรือการปรับการลงทุนต่างๆ ให้ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ของการทำ Asset Allocation ทั้งนี้เมื่อคุณปล่อยพอร์ตของคุณไปนานๆ ราคาสินทรัพย์จะเปลี่ยน บางตัวคุณจะได้กำไร หรือขาดทุน ซึ่งอาจจะทำให้สัดส่วนของการลงทุนที่ตั้งไว้ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นการ Rebalancing จะช่วยให้พอร์ตการลงทุนของคุณกลับเข้าสู่สมดุลตามที่ตั้งไว้ครับ
ส่วนที่เหลือของโพสนี้ ผมจะแนะนำคอร์สสอน Portfolio Management ออนไลน์ที่น่าสนใจ
อย่างไรก็ดีคอร์สเหล่านี้มีความยากที่แตกต่างกัน บางคอร์สอาจจะเหมาะกับนักลงทุนทั่วไปที่อยากจัดพอร์ตของตนเอง ขณะที่บางคอร์สอาจจะเหมาะกับใครที่อยากทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Portfolio Management อย่างเช่น Fund Manager หรือว่า Analyst ที่ต้องมีทักษะบางอย่างเพิ่มเติมก่อนเรียนครับ
อย่างไรก็ดีในส่วนนี้ไม่ต้องกังวล เพราะผมจะแจ้งไว้ในแต่ละคอร์สว่า คอร์สไหนเหมาะกับใคร และคุณจะต้องมีทักษะใดมาก่อนเรียนครับ
ข้อควรทราบ: ราคาและเงื่อนไขต่างๆ ของแต่ละคอร์สอาจจะเปลี่ยนได้ เพราะฉะนั้นตรวจสอบก่อนซื้อทุกครั้งครับ
แนะนำแพลตฟอร์มที่ใช้เรียน
คอร์สที่ผมจะแนะนำในการเรียน Portfolio Management จะมีอยู่ในแพลตฟอร์ม 2 แห่งได้แก่ Coursera และ Udemy ผมเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันมาบ้างแล้ว แต่ถ้าไม่รู้จักเลย ผมแนะนำให้อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ครับ
Coursera
คอร์สที่ 1-3 อยู่ในแพลตฟอร์มของ Coursera
1. Investment Management Specialization
หลักสูตรสอน Investment Management (ความหมายของคำนี้แทบจะเหมือนกับ Portfolio Management ทุกประการ) ที่จัดทำโดย University of Geneva
คอร์สนี้จะสอนวิธีการบริหารพอร์ตการลงทุนแบบระยะยาวตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นหลักสูตรนี้เรียนได้ทุกคนครับ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนรายย่อย หรือว่าใครที่สนใจจะทำงานในสาขา Portfolio Management ก็ตาม
ภายในหลักสูตรมีคอร์สย่อยทั้งหมด 5 คอร์สโดยจะประกอบด้วย
- Understanding Financial Markets – คอร์สย่อยแรกจะอธิบายพื้นฐานเกี่ยวกับตลาดการเงินทั่วไป คุณจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงคอนเซปต์สำคัญอย่าง Risk (ความเสี่ยง) และ Return (ผลตอบแทน) รวมไปถึงการคิดคำนวณราคาสินทรัพย์ว่ามีที่มาอย่างไร นอกจากนี้คุณจะได้เรียนพื้นฐานการสร้างพอร์ตที่มีประสิทธิภาพด้วยครับ
- Meeting Investors’ Goals – คอร์สนี้จะสอนในส่วนของ Behavioral Finance หรือว่าความมีเหตุผลและไม่มีเหตุผลของนักลงทุน และอิทธิพลของสองปัจจัยที่มีต่อการลงทุนและตลาดการเงินโดยรวม นอกจากนี้ในคอร์สจะเล่าถึงวิธีการที่สถาบันการเงินใหญ่ๆ จัดการพอร์ตการลงทุนของลูกค้าด้วย
- Portfolio and Risk Management – เรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ ที่ช่วยในการสร้าง portfolio ที่มีความสมดุลที่สุดระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน รวมไปถึงวิธีการสร้าง portfolio ที่แตกต่างกัน และเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมความเสี่ยง
- Securing Investment Returns in the Long Run – ในคอร์สนี้จะสอนความแตกต่างระหว่าง Active และ Passive Investing รวมไปถึงวิธีการคิดคำนวณผลตอบแทน และแนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรม Investment/Portfolio Management
- Capstone – Project หลักที่คุณจะได้นำความรู้จากทั้ง 4 คอร์สมาออกแบบ Wealth Plan สำหรับนักลงทุนคนหนึ่ง โดยมีช่วงเวลาในการลงทุนอยู่ที่ 5 ปี
จุดแข็งของคอร์สนี้คือ นอกจากคุณจะได้เรียนรู้จากคณาจารย์จากทางมหาวิทยาลัยแล้ว คุณยังจะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการเงินระดับโลกจาก UBS อีกด้วย ซึ่งเขาจะมาแนะนำภาคปฏิบัติของการทำ Portfolio Management ที่ใช้งานอยู่จริงในอุตสาหกรรมทุกวันนี้ครับ
ทางมหาวิทยาลัยแนะนำว่าผู้เรียนควรใช้เวลาเรียนคอร์สนี้ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 5 เดือนในการเรียนให้จบครับ ส่วนค่าเรียนอยู่ที่ $49 หรือประมาณ 1,470 บาทต่อเดือนครับ
2. Investment and Portfolio Management Specialization
หลักสูตรสอน Portfolio Management ที่จัดทำโดย Rice University หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำในรัฐเท็กซัสของประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับเนื้อหาต่างๆ จะคล้ายคลึงกับหลักสูตรแรก นั่นคือจะให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มแรกในส่วนของการลงทุนและการบริหารพอร์ต ดังนั้นไม่มีปัญหาแน่นอนสำหรับนักลงทุนทุกระดับชั้นครับ
คอร์สย่อยของหลักสูตรนี้มีทั้งหมด 5 คอร์ส ซึ่งจะประกอบด้วย
- Global Financial Markets and Instruments – เรียนพื้นฐานของตลาดการเงินทั้งหมดรวมไปถึงสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ อย่างละเอียด
- Portfolio Selection and Risk Management – เรียนรู้การสร้าง Portfolio เบื้องต้น รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยงและการทำ Diversification นอกจากนี้คุณจะได้เรียน Pricing Model สำหรับการประเมินราคาสินทรัพย์ด้วย
- Biases and Portfolio Selection – คอร์สนี้จะสอนในส่วนของ Behavioral Biases หรือพฤติกรรมต่างๆ ของนักลงทุนในตลาดการเงิน รวมไปถึงความผิดพลาดต่างๆ ของนักลงทุนที่พบบ่อย นอกจากนี้คุณจะได้เข้าใจว่าความต้องการของนักลงทุน และช่วงเวลาที่ต้องการจะลงทุน ส่งผลกระทบต่อการทำ asset allocation อย่างไร
- Investment Strategies and Portfolio Analysis – คอร์สนี้จะสอนกลยุทธ์การลงทุนต่างๆ รวมไปถึงวิธีการวัดและประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงเท่านั้นคุณจะได้ทราบถึงเครื่องมือ และแนวโน้มล่าสุดในการลงทุนด้วย
- Capstone – นำความรู้จากทุกคอร์สมาสร้างเป็น Investment Portfolio ของตัวคุณเอง และคุณจะได้สวมบทบาทเป็นที่ปรึกษาทางการลงทุนที่จะมีบทบาทในการทำ Portfolio Management ให้กับลูกค้า
โดยรวมถือว่าตัวคอร์สจัดเรียงเนื้อหาเยี่ยม และเหมาะมากสำหรับนักลงทุนทั่วไป และนักศึกษาจบใหม่ที่ต้องการจะหางานบริหารกองทุนครับ อย่างโปรเจค Capstone นั้นจะเป็นการจำลองบทบาทเสมือนจริงที่จะทำให้คุณทราบเลยว่า สายงานนี้เหมาะกับคุณหรือไม่
สำหรับค่าเรียนจะอยู่ที่ $49 หรือประมาณ 1,470 บาทต่อเดือน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยแนะนำว่าคุณควรจะเรียน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งจะเรียนจบภายในเวลา 6 เดือนครับ
3. Investment Management with Python and Machine Learning Specialization
หลักสูตรนี้จะต่างไปจากสองหลักสูตรแรกอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าจะสอนการนำ Python และ Machine Learning เข้ามาใช้ในการทำ Portfolio Management ดังนั้นเนื้อหาจะมีความเฉพาะทางสูงกว่า และไม่เหมาะกับบางคนที่ไม่ชอบการเขียนโปรแกรม แต่ถ้าคุณสนใจทางด้านนี้อยู่แล้ว ผมแนะนำให้ลองเรียนดูครับ
สำหรับผู้จัดทำหลักสูตรนี้คือ Edhec Business School วิทยาลัยธุรกิจของประเทศฝรั่งเศส ในหลักสูตรจะประกอบด้วยคอร์สย่อยทั้งหมด 4 คอร์สได้แก่
- Introduction to Portfolio Construction and Analysis with Python – เรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐานของการลงทุนอย่างเช่น Risk และ Return รวมไปถึงเทคนิคต่างๆ ในการทำ Portfolio Management หลังจากนั้นคุณจะได้ลองภาคปฏิบัติด้วยการเขียนโปรแกรมโดยใช้ Python เพื่อดูว่าวิธีการลงทุนเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
- Advanced Portfolio Construction and Analysis with Python – คอร์สนี้จะสอนแบบเจาะลึกลงไปในส่วนของการ optimize พอร์ตการลงทุนของคุณโดยใช้ Python ไม่ว่าจะเป็นการหา Robust Estimates สำหรับ Covariance Matrix และ Expected Returns
- Python and Machine Learning for Asset Management – คอร์สนี้จะสอนการใช้ Machine Learning (ML) ในสาขา Investment Management ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ในคอร์สจะนำเสนอ Case Study ที่จะแสดงปัญหาผ่านทางเทคนิคทางสถิติ นอกจากนี้คุณจะได้เข้าใจว่า ML มีบทบาทอย่างไรในการช่วยวิเคราะห์พอร์ตการลงทุน
- Python and Machine Learning for Asset Management with Alternative Data Sets – คอร์สสุดท้ายของหลักสูตรที่จะนำเสนอคอนเซปต์อย่าง Alternative Data ซึ่งเป็นงานวิจัยล่าสุดครับ
ในการเรียนทางมหาวิทยาลัยแจ้งว่าคุณไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในส่วนของ Finance ใดๆ มาก่อน แต่อาจจะต้องมีพื้นฐานวิชาสถิติ รวมไปถึง Python ระดับหนึ่งครับ การเรียนควรจะเรียน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งจะใช้เวลา 5 เดือนในการเรียนให้จบ
สำหรับค่าเรียนจะอยู่ที่ $39 หรือประมาณ 1,170 บาทต่อเดือนครับ
Coursera Plus
หลายคนอาจจะสนใจหลักสูตรสอน Portfolio Management มากกว่า 1 คอร์ส และเลือกไม่ได้ หรือว่าอาจจะคอร์สอื่นๆ ใน Coursera อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ผมแนะนำให้คุณสมัคร Coursera Plus ครับ เพราะถูกกว่า นำข้อจำกัดในการเรียนออกไป แถมคุณยังสามารถเก็บ certificate จำนวนมากได้ในราคาประหยัดด้วยครับ
Udemy
คอร์สที่ 4 อยู่ในแพลตฟอร์มของ Udemy
คอร์สของ Udemy มีลด 90% แทบทุกสัปดาห์จนทำให้คุณเข้าถึงคอร์สคุณภาพเยี่ยมในราคาไม่กี่ร้อยบาท ถ้าเกิดว่าคอร์สอยู่ที่ราคาเต็ม (อย่างในรูปด้านล่าง) ผมแนะนำให้รอ 2-5 วันแล้วค่อยซื้อ อีกทางเลือกหนึ่งคือสมัครแจ้งเตือนกับ Victory Tale เอาไว้เพื่อที่ผมจะได้แจ้งให้คุณทราบตอนที่มีลดราคาครับ
เราไปดูกันดีกว่าคอร์สสอน Portfolio Management น่าเรียนใน Udemy มีอะไรบ้าง
4. Investment Analysis & Portfolio Management
คอร์สนี้เป็นคอร์สสอนวิเคราะห์การลงทุนและ Portfolio Management ของ Fervent สถาบันออนไลน์ที่สอนทักษะต่างๆ ทางด้านการเงินและการบัญชีครับ
สำหรับคอร์สนี้จะมีสองรูปแบบ นั่นคือสอนโดยใช้ Excel & Google Sheets และสอนโดยใช้ Python แต่เนื้อหาหลักทั้งสองคอร์สแทบจะเรียกได้ว่าเหมือนกันทุกประการ โดยจะประกอบด้วย
- เข้าใจพื้นฐานของราคา ความเสี่ยง และผลตอบแทน และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามปัจจัยในการทำ Portfolio Management
- การหา Expected Returns โดยใช้วิธีต่างๆ อย่างเช่น Average Method, Capital Asset Pricing Model (CAPM) ฯลฯ
- เข้าใจโครงสร้างของความเสี่ยง (Market Risk, Specific Risk)
- วิธีการหาผลตอบแทนและวัดความเสี่ยง
- การลดความเสี่ยงของพอร์ตโดยใช้ Diversification, การ optimize สัดส่วนการลงทุนเพื่อให้ได้รับผตอบแทนที่เหมาะสม, กลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงของพอร์ต
- เจาะลึกการทำ Diversification
- และอื่นๆ อีกมากมาย
ภายในแต่ละคอร์สคุณจะได้เรียนรู้ case study มากมาย เช่นเดียวกับได้ลองทำแบบฝึกหัดที่วัดความรู้ที่เรียนไป แม้ว่าเนื้อหาทุกอย่างจะเหมือนกัน แต่คอร์สที่ใช้ Python จะยาว 9 ชั่วโมง ส่วนคอร์สที่ใช้ Excel จะยาว 7.30 ชั่วโมงครับ
อย่างไรก็ดีในการเรียนคอร์สที่ใช้ Python คุณจะต้องเคยเรียน Python มาก่อนครับ มิฉะนั้นจะติดขัดไม่สามารถเรียนได้
ทั้งสองคอร์สได้คะแนนรีวิวเท่ากันนั่นคือ 4.5/5.0 แต่คอร์สที่ใช้ Excel ได้รับความนิยมมากกว่าอย่างชัดเจนครับ