เทคโนโลยี8 เทคนิคเพิ่มความเร็ว + แก้ปัญหาเว็บ WordPress ช้าแบบง่ายๆ

8 เทคนิคเพิ่มความเร็ว + แก้ปัญหาเว็บ WordPress ช้าแบบง่ายๆ

ในปัจจุบัน WordPress เป็นระบบ CMS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการสร้างเว็บไซต์ แต่ปัญหาในการใช้งานก็มีอยู่มากมาย หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยที่สุดก็คือเว็บไซต์โหลดช้ามาก ทำให้ User ของคุณปิดหน้าดังกล่าวก่อนที่จะโหลดเสร็จก็ได้ ซึ่งนี่จัดว่าเป็นปัญหาหลักเลยทีเดียว เพราะจะทำให้รายได้ของคุณจากทั้ง Ad และ Affiliate marketing ลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญ

ในโพสนี้ผมจะมาแนะนำวิธีแก้ปัญหา WordPress ช้าอย่างง่ายๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วมากจากทุกที่ทุกแห่งบนโลกครับ วิธีเหล่านี้จะไม่ต้องอาศัยการแก้ code อะไรเลย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวเลยว่าจะอ่านไม่รู้เรื่อง หรือว่าจะแก้ไขไม่ได้ครับ

แต่ก่อนอื่นผมขอแนะนำสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เว็บโหลดช้าเสียก่อน เราไปเริ่มต้นกันเลยดีกว่าครับ

สาเหตุซึ่งทำให้เว็บที่สร้างจาก WordPress ช้า

ว่ากันตามตรง สาเหตุที่ทำให้เว็บโหลดช้ามีมากมายร้อยแปดครับ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • เว็บโฮสติ้งของคุณไม่ได้คุณภาพ เช่น Server Stack ห่วย หรือใช้ PHP หรือ MySQL เวอร์ชันเก่ามากๆ
  • DNS Manager ไม่มีคุณภาพ
  • มี WordPress Plugin หรือ Theme ที่เขียน code อย่างลวกๆ ไม่ได้ optimize เลย
  • ไม่ได้ใช้ Caching
  • ในแต่ละเพจของคุณเต็มไปด้วยรูปภาพคุณภาพสูง ไฟล์วีดิโอที่มีขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่ง Ads อย่าง Google Adsense
  • คุณใช้ Google Fonts นับสิบตัวในเว็บไซต์ของคุณ
  • User ที่เข้าใช้งานอยู่ห่างจาก Server มาก เช่นถ้าผู้ใช้งานอยู่ที่อเมริกาจะเข้าเว็บไซต์ที่มี Server ที่อยู่ที่ไทยจะช้ามาก เพราะว่าการสื่อสารต้องอ้อมโลกมานั่นเองครับ
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเวลาเราวัดความเร็วของเว็บจะวัดกันที่ไหน คำตอบคือที่เว็บไซต์เหล่านี้ครับ เพราะจะได้มาตรฐานกว่าวัดโดยความรู้สึกอย่างมาก

ใน 4 เว็บไซต์นี้คุณจะวัดความเร็วของเว็บไซต์ได้ทั้งหมด และจะชี้ให้คุณเห็นด้วยว่าตรงไหนที่มีปัญหา อย่างไรก็ดีคุณอย่าเชื่อแค่เว็บใดเว็บหนึ่ง คุณจะต้องนำข้อมูลประกอบกันเพื่อวิเคราะห์ทุกครั้งครับ นอกจากนี้ควรจะตรวจหลายๆ ครั้งด้วยเพื่อหาค่าเฉลี่ย อย่านำตรวจแค่ครั้งแรกเพียงครั้งเดียวครับ

ข้อควรทราบอีกอย่างหนึ่งคือ GTMetrix, Pingdom และ WebPageTest จะให้คุณเลือกสถานที่ในการตรวจสอบความเร็วด้วย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าคุณไม่ได้ใช้ CDN หรือ Cloudflare ความเร็วในการโหลดแต่ละหน้าของผู้เข้าเว็บที่อยู่ไกลจาก Server จะช้ากว่าที่ User ทั่วไปของคุณจะโหลดก็ได้

ดังนั้นคุณควรจะเลือกสถานที่การทดสอบที่ใกล้ผู้ใช้งานจริงของคุณมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น กรุงเทพ (ถ้ามี) หรือสิงคโปร์และฮ่องกงเป็นต้น

โหลดเร็วคือเร็วเท่าไร

หลายคนอาจจะสงสัยต่อไปอีกว่า แล้วเว็บที่ว่าโหลดเร็ว นี่คือโหลดเร็วขนาดไหน ซึ่งเกณฑ์ทั่วไปจะอยู่ที่ไม่เกิน 3 วินาทีครับ แต่น้อยเท่าไรก็ยิ่งดี ถ้าเป็นไปได้เหลือต่ำกว่า 1 วินาทีจะดีที่สุด

ถัดไปเราไปดูกันดีกว่าครับมีวิธีไหนช่วยให้เว็บ WordPress ของคุณโหลดเร็วบ้าง

1. ย้ายโฮสติ้ง

การย้ายโฮสติ้ง (Hosting) เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าคุณต้องการแก้ปัญหา WordPress ช้าอย่างยั่งยืน สาเหตุก็คือบางโฮสติ้งนั้นมีคุณภาพต่ำอย่างเช่น Server Stack ไม่ดี ใช้เทคโนโลยีเก่า ใช้ PHP หรือ MySQL เวอร์ชันที่ล้าสมัย ไม่มี Cache Layer ให้เลย และอื่นๆ อีกมากมาย

อีกสาเหตุหนึ่งก็คือคุณใช้บริการ Shared Hosting ที่แบ่งทรัพยากรกันกับเว็บอื่นๆ ทำให้แต่เว็บแก่งแย่งทรัพยากรกันเอง ซึ่งจะส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณมี performance ที่แย่ลงนั่นเอง

ดังนั้นถ้าคุณให้เว็บไซต์ของคุณอยู่กับโฮสติ้งเหล่านี้ต่อไป โฮสติ้งเหล่านี้ก็จะฉุดรั้งเว็บของคุณไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีกำหนด ในกรณีที่คุณซีเรียสกับเรื่องนี้จริงๆ ผมแนะนำอย่างยิ่งให้ย้ายเว็บของคุณไปอยู่กับโฮสติ้งที่เร็วๆ อย่าง Cloudways ครับ

Cloudways นั้นเป็น Cloud Hosting คุณภาพเยี่ยม ทั้งเร็วและเสถียร มีทรัพยากรที่ล็อกไว้เป็นส่วนตัว แถมราคายังไม่แพงด้วย (เริ่มต้นที่ $10 ต่อเดือน) ในปัจจุบันผมเองก็ใช้บริการของ Cloudways อยู่ครับ

ความเร็วของเว็บไซต์ของผมเองจาก Page Speed Insights
ความเร็วของเว็บไซต์ของผมเองจาก Page Speed Insights

ทั้งนี้ Cloudways เป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ของผมโหลดโดยใช้เวลาเพียง 1.5 วินาทีเท่านั้น และได้คะแนนจาก Google Pagespeed Insights ไปถึง 99 ด้วยกัน ไปลองใช้กันเลยดีกว่าครับ

2. ย้าย DNS Manager

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เว็บโหลดเร็วขึ้นก็คือ การย้าย DNS Manager ครับ หลายคนอาจจะเลือกสมัครโดเมนเนมไปกับโฮสติ้ง ตอนที่เปิดเว็บไซต์ใหม่ๆ ซึ่งก็เป็นตัวเลือกที่ผมใช้เช่นกัน

นี่ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เว็บไซต์ช้า เพราะต้องรอการตอบสนองจาก DNS Server ที่ไม่ดีนัก ผมจึงแนะนำให้คุณเลือกใช้ผู้ให้บริการดีๆ อย่าง Google Domains, Cloudflare หรือ Namecheap ตั้งแต่เริ่มต้น อย่างไรก็ดีถ้าคุณใช้ของโฮสติ้งไปแล้วก็สามารถย้ายได้โดยไม่ยากอะไรนักครับ

3. ติดตั้งปลั๊กอินหรือธีมที่ได้คุณภาพเท่านั้น

ผมบอกเลยว่าปลั๊กอิน (Plugin) และธีมของ WordPress เป็นสองตัวร้ายที่สุดที่ทำให้ WordPress ช้า จริงอยู่ว่าธีมของคุณอาจจะสวยมาก หรือปลั๊กอินที่มีประโยชน์มากต่อการทำเว็บ แต่บางครั้งธีมหรือปลั๊กอินเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นโดยที่ไม่ได้ optimize ทำให้เว็บที่สร้างจาก WordPress ช้าเป็นเต่าคลาน เพราะต้อง Run Code จำนวนมาก

สำหรับธีม (Theme) นั้น ผมแนะนำให้คุุณเลือกใช้ธีมระดับ Premium จะดีที่สุด อย่างเช่น Astra หรือ GeneratePress เพราะผู้พัฒนาให้ความสำคัญกับเรื่องโหลดเร็วเป็นพิเศษ แถมยังสร้างเว็บไซต์ที่สวยงามได้ดีด้วย

นอกจากนี้เวลาซื้อธีมอย่างเช่น การซื้อธีมที่ Themeforest คุณควรจะอ่านรีวิวและตรวจสอบการใช้งานให้ดีว่า ธีมที่ซื้อมาช้าหรือไม่ เพราะจะได้ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังครับ

ในส่วนของปลั๊กอิน ผมแนะนำให้ลบตัวที่ไม่จำเป็นออกไปทั้งหมด ทั้งนี้คุณไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องติดตั้งปลั๊กอินเผื่อไว้ เพราะนอกจากจะทำให้ WordPress โหลดช้าแล้ว คุณยังมีความเสี่ยงจะโดน Hack อีกด้วย เพราะยิ่งมี Plugin มาก ช่องโหว่ (Vulnerabilities) ก็มากตามครับ

นอกจากนี้เมื่อคุณใช้ปลั๊กอินตัวใหม่ คุณควรจะตรวจสอบความเร็วของเว็บทุกครั้งว่าส่งผลกระทบต่อความเร็วมากเกินไปหรือไม่ ถ้าติดตั้งแล้ว คะแนนตกลงมาก ผมไม่แนะนำใช้งานครับ

สรุปก็คือคุณควรใช้ปลั๊กอินที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความเร็วของเว็บมากเกินไป และไม่ควรใช้ปลั๊กอินมากจนเกินไปครับ

4. ใช้ Caching

การใช้ Caching นั้นมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งถ้าจะให้อธิบายทั้งหมดอาจจะซับซ้อนเกินไป ผมขอสรุปสั้นๆ ว่า Caching เป็นตัวเก็บข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ซ้ำได้ในภายหลัง ดังนั้นการใช้ Caching จะช่วยลดภาระของ Server ไปอย่างมากนั่นเองครับ

วิธีการใช้ Caching ที่ง่ายที่สุดก็คือใช้ปลั๊กอิน Caching อย่างเช่น WP Rocket หรือ WP Super Cache แต่ผมแนะนำให้ซื้อตัวแรก เพราะว่าใช้ง่ายที่สุด และมีฟีเจอร์มากมายไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดให้เล็ก (Minify) ของโค้ด HTML, CSS และ JavaScript หรือ Preload ซึ่งจะช่วยยกระดับเรื่อง Performance ของเว็บ WordPress ของคุณ และทำให้โหลดเร็วขึ้นอย่างชัดเจนครับ

หลังจากที่ใช้ Caching แล้ว ปัญหา WordPress ช้าก็ลดไปอย่างมากเลยครับ
หลังจากที่ใช้ Caching แล้ว ปัญหา WordPress ช้าก็ลดไปอย่างมากเลยครับ

ในส่วนของการติดตั้งก็ง่ายมาก เพราะเพียงแค่แค่กดติ๊กถูกไม่กี่ครั้งเพื่อตั้งค่าก็เรียบร้อยแล้ว สำหรับผมแล้ว ตัวที่ใช้อยู่ก็เป็น WP Rocket นี่แหละครับ ในส่วนของราคาก็จะอยู่ที่ $49 ต่อปี หรือเฉลี่ยแล้ว $4 ต่อเดือนนั่นเองครับ

นอกจากนี้ถ้าเว็บไซต์ของคุณมี Dynamic Content มากๆ เช่นเป็นเว็บไซต์ e-commerce คุณยิ่งควรจะใช้โฮสติ้งอย่าง Cloudways เพราะมีเทคโนโลยี Object Cache อย่าง Memcached และ Redis ให้ใช้ได้ ซึ่งจะทำให้เว็บโหลดเร็วมาก และสร้าง conversions ให้คุณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเลยครับ

5. จัดการกับรูปภาพ

เมื่อรูปภาพใหญ่มาก ไม่ต้องสงสัยว่าทำให้จำนวนข้อมูลเป็น KB หรือ MB ที่ต้องโหลดนั้นมากขึ้นไปด้วย ยิ่งถ้าคุณเขียนโพสใหญ่ๆ ที่มีรูปภาพขนาด 1 MB ประมาณ 10 รูปแล้วไม่ได้จัดการกับมัน ผมบอกได้เลยว่าโหลด 10 วินาทีก็ยังไม่เสร็จครับ

ขั้นตอนการจัดการกับรูปภาพหลักๆ มี 2 ขั้นตอนครับ ซึ่งควรจะทำทั้งคู่เลยครับ ไม่ใช่ว่าทำแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง

ขั้นตอนแรกคือ ใช้ Lazyload หรือพูดง่ายๆ คือให้รูปภาพโหลดเมื่อผู้ใช้งาน scroll ลงมาถึงเท่านั้น นั่นจะทำให้เว็บโดยรวมโหลดเร็วขึ้น เพราะ requests น้อยลง

สำหรับใครที่ใช้ WP Rocket ในส่วนนี้ไม่ยากอะไรเลย คุณแค่ตั้งค่าด้วยการติ๊กถูกครั้งเดียว Lazyload ก็จะทำงานทันทีครับ

ขั้นตอนที่ 2 คือการบีบอัดรูปภาพ (Compress) ให้มีขนาดเล็กลง แต่ได้คุณภาพที่ไม่ต่างออกไปมากนัก คุณอาจจะแก้ไขรูปภาพดังกล่าวโดยใช้ Photoshop หรือว่าโปรแกรมแต่งรูปอย่าง Pixlr ก่อนที่จะอัพโหลดรูปภาพลงหน้าเว็บก็ได้

อีกทางเลือกหนึ่งคือติดตั้งปลั๊กอินที่ช่วยในส่วนนี้อย่าง ShortPixel ซึ่งจะช่วยบีบอัดขนาดรูปภาพที่มีขนาดใหญ่ของคุณให้เหมาะสม ซึ่งบางรูปอาจจะลดได้มากกว่า 60% เลยทีเดียวครับ

ในส่วนของชนิดของไฟล์ คุณควรจะใช้ JPG หรือว่า WebP ก็ได้ เพราะจะขนาดเล็กกว่า PNG ครับ

6. ใช้ Font ไม่เกิน 2 ตัว หรือใช้ System Fonts

ผมไม่แนะนำให้ใช้ Web Fonts มากเกินไปในการทำเว็บ เพราะแน่นอนว่าจะต้องโหลด Font เหล่านี้มากยิ่งขึ้น ทางที่ดีทั้งเว็บควรจะใช้ Font ไม่เกิน 2 ตัวครับ หรือทางที่ดีคือใช้แค่ตัวเดียวเลยก็ยิ่งดี ถ้าเป็นไปได้นะครับ

อีกทางเลือกที่ผมเพิ่งจะค้นพบก็คือใช้ System Fonts ไปเลยอย่างเช่น San Serif ซึ่งทำให้ไม่ต้องโหลด Google Fonts เวลาโหลดแต่ละหน้า

ในส่วนนี้จะช่วยอย่างมากในการปรับแก้เว็บจาก WordPress ที่โหลดช้าใน mobile ครับ หลังจากที่ทดลองไปพบว่าคะแนนเพิ่มขึ้นมาถึง 10 คะแนนทีเดียวใน Pagespeed Insights

7. ใช้ Cloudflare หรือ CDN อื่นๆ

ข้อ 7 นี้จะสำหรับใครที่ได้ traffic มาจากทั่วโลกเท่านั้น ถ้าคุณได้ traffic มาจากประเทศไทยอย่างเดียว คุณไม่จำเป็นต้องปรับแต่งอะไรทั้งสิ้นครับ คุณข้ามไปข้อ 8 ได้เลย

แต่ถ้าเว็บเราได้ Traffic มาจากต่างประเทศไกลๆ และอยากให้ผู้เข้าเว็บเหล่านั้นโหลดหน้าเว็บได้เร็วขึ้น ผมแนะนำให้ใช้ Cloudflare หรือ CDN เพราะว่า content ของคุณจะได้ผ่าน Server ของผู้ให้บริการเหล่านี้ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก ดังนั้น requests ของคุณจึงไม่ต้องอ้อมโลกเหมือนกับแต่ก่อน

หลังจากที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ ค่า Time to First Byte (TTFB) ของคุณจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างเว็บผมเคยมี TTFB อยู่ที่ 600 ms เวลามีผู้เข้าเว็บจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เหลือแค่ 250 ms หรือน้อยกว่าเวลาที่ใช้ Cloudflare ครับ

8. อัพเดตทุกอย่างให้ทันสมัย

การอัพเดตทุกอย่างให้ทันสมัยอย่างเช่น WordPress, PHP หรือ MySQL เป็นสิ่งที่คุณต้องทำ (สองอย่างหลังอาจจะทำได้เฉพาะบางโฮสติ้งเท่านั้น) เพราะจะช่วยเวอร์ชันใหม่จะถูกแก้ไขให้ตัว code มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังปิดจุดอ่อนด้านความปลอดภัยอีกด้วย ผลที่ตา่มมาก็คือเว็บจะโหลดได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ดีนั่นไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องอัพเดตทันทีที่มีเวอร์ชันใหม่ของ WordPress ออกมา คุณอาจจะรอไปก่อนสักช่วงหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มี Bug หรือปัญหาเรื่อง Compatibility ออกมา ก่อนที่จะอัพเดตซอฟต์แวร์ของคุณครับ

แถม: แนะนำ Nitro Pack

หลายคนอาจจะรู้สึกว่าต้องใช้เครื่องมือหลายตัวขนาดนี้เลยหรือเพื่อที่จะทำให้เว็บของคุณโหลดเร็ว แค่ชื่อก็ลายตาแล้ว ฯลฯ

สำหรับใครที่อยากได้อะไรแบบ All-in-one ตัวเดียวทำได้ทุกอย่าง ผมแนะนำให้เลือกใช้ Nitro Pack ครับ เครื่องมือตัวนี้ตัวเดียวสามารถทำให้เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วขึ้น เพราะว่ามีฟีเจอร์ย่อยดังต่อไปนี้

  • Caching
  • HTML/CSS/JS Minification
  • Preloading
  • DNS Prefetching/Critical CSS
  • CDN
  • Image Optimization (การบีบอัดขนาดของภาพ) และ LazyLoad

หรือพูดง่ายๆ เรียกได้ว่าทำได้ทุกอย่างตั้งแต่ข้อ 4, 5, และ 7 ในตัวเดียว นอกจากนี้ยังมีทีมงานคอยช่วยเหลือในกรณีที่มีปัญหาอีกด้วย ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินไปจ้างใครที่ไหนมาแก้ไขปัญหาเว็บไซต์โหลดช้าอีก เพราะมีทีมที่เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกคอยช่วยคุณอยู่แล้วครับ

ในส่วนของราคา Nitro Pack ให้คุณใช้ฟรีสำหรับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นจาก WordPress ขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นเว็บใหญ่ที่มีมากกว่า 5,000 Page View ต่อเดือน คุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ $17.5 หรือประมาณ 530 บาทครับ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยมทีเดียว ถ้าคุณคิดว่าคุณจะต้องเสียเงินไปกับ WP Rocket หรือ CDN อื่นๆ

ส่งท้ายเรื่อง WordPress ช้า

จริงอยู่ว่าการแก้ไขเรื่อง WordPress ช้าเป็นสิ่งที่คุณควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็มีสิ่งที่คุณต้องระวังเช่นเดียวกัน คุณควรจะเตือนใจไว้เสมอว่าการแก้ไขให้เว็บไซต์โหลดเร็วนั้นมีโอกาสสูงมากที่เว็บไซต์ของคุณจะพังหรือเกิดปัญหาขึ้นมาได้

จากประสบการณ์ของผม ผมพบว่าถ้าการแก้ไขให้เว็บไซต์เร็วขึ้นเกิดปัญหา เว็บไซต์อาจจะมีหน้าตาแปลกประหลาด ไม่เป็นมืออาชีพ หรือว่าอาจจะถึงกับเข้าไม่ได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นก่อนจะแก้ไขอะไร คุณควรจะเตรียม Backup ไว้ล่วงหน้าครับ

หรือถ้าโฮสติ้งของคุณมี Staging Environment (ทั้ง Cloudways และ SiteGround มีให้ทั้งคู่) คุณควรจะแก้ไขบนนั้นก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงบนเว็บไซต์จริงๆ ของคุณครับ

บทความการศึกษา

Victory Tale ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความไปโพสที่ใดทุกกรณี การฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย

error: Content is protected !!