ประวัติศาสตร์การพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์เป็นครั้งแรกของมนุษยชาติ

การพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์เป็นครั้งแรกของมนุษยชาติ

เอเวอร์เรสต์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก มันสูงกว่า 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล มันจึงเป็นสถานที่ที่นักผจญภัยทั่วไปใฝ่หาว่าจะพิชิตให้ได้สักครั้งหนึ่ง

ความพยายามจะพิชิตเอเวอร์เรสต์ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สามารถย้อนไปไกลได้ถึงศตวรรษที่ 19

เอเวอร์เรสต์
ยอดเขาเอเวอเรสต์ Cr: Pavel Novak

ยอด 15

ในต้นคริสตศตวรรษที่ 19 อังกฤษได้เข้าปกครองดินแดนหลายแห่งในอินเดีย นักสำรวจจากอังกฤษจึงได้เข้ามาสำรวจบริเวณเทือกเขาหิมาลัยทางตอนเหนือของอินเดียด้วย

นักสำรวจอังกฤษใช้ทฤษฎีตรีโกณมิติในการวัดความสูงของยอดเขาในเทือกเขาหิมาลัย พวกเขาพบว่า ยอดเขาคันเช็นจุนก้า (Kanchenjunga) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในบริเวณนั้น

คันเช็งจุงก้า
ยอดเขาคันเช็นจุงก้า Cr: DC Assam

ภายในเวลาไม่นาน พวกเขาก็ทราบว่าผิดพลาด เพราะนักสำรวจพบยอดเขาอีกลูกหนึ่ง ถ้ามองดูด้วยสายตาแล้วน่าจะสูงกว่าคันเช็นจุงก้า

เมื่อลองใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์คำนวณดู ปรากฏว่าเป็นจริงตามนั้น พวกเขาเรียกยอดเขาที่สูงกว่าคันเช็นจุงก้าถูกเรียกว่า “ยอด 15” หรือ “Peak XV”

ที่มาของชื่อเอเวอร์เรสต์

นักสำรวจชาวอังกฤษพยายามค้นหาชื่อท้องถิ่นของยอดเขานี้ แต่ทางการเนปาลและทิเบตปฎิเสธที่จะให้พวกเขาเข้าไปในพื้นที่เพื่อสอบถามจากชาวบ้าน สุดท้ายแล้วพวกนักสำรวจจึงเรียกยอดเขานี้ตามชื่อของหัวหน้านักสำรวจอังกฤษ หรือ “เซอร์ จอห์น เอเวอร์เรสต์”

นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ เอเวอร์เรสต์ นั่นเอง

จริงๆแล้ว “เอเวอร์เรสต์” มีชื่อที่เป็นภาษาท้องถิ่นอยู่แล้ว ชาวทิเบตเรียกมันว่า “โชโมลุงมา” ที่แปลว่า “เทพมารดา”หรือ “มารดาอันศักดิ์สิทธิ์” ส่วนชาวเนปาลเรียกมันว่า “สักกะมาถา”

เอเวอร์เรสต์
เอเวอร์เรสต์ Cr: Wikipedia

เอเวอร์เรสต์มีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วในหมู่นักสำรวจ นักผจญภัย และนักปีนเขาชาวตะวันตก แทบทุกคนต้องการจะเป็นคนแรกที่พิชิตยอดเขาลูกนี้

หากแต่ว่าการพิชิตยอดเขาลูกนี้ไม่ใช่หมูๆ เพราะ

  1. เอเวอร์เรสต์สูงถึง 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล ทำให้ระดับออกซิเจนเบาบาง
  2. อากาศบนยอดเขาอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ภายในเสี้ยววินาที พายุหิมะและหิมะถล่มเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
  3. เส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ยากลำบากมาก ถ้าพลาดแม้แต่นิดเดียว อาจจะกลับบ้านเก่าเลยก็ได้

ถึงแม้เอเวอร์เรสต์จะอันตราย แต่ก็ไม่อาจหยุดความพยายามของมนุษย์ที่จะพิชิตมันได้ อย่างเช่นที่มนุษย์พิชิตขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วก่อนหน้านี้

ความพยายามของมัลเลอรี

ทีมนักสำรวจทีมแรกที่เดินทางมาเพื่อพิชิตยอดเขาอย่างจริงจังคือ ทีมของ จอร์จ มัลเลอรี (George Mallory) ในช่วงปี ค.ศ. 1921-1924

มัลเลอรีและทีมของเขาขึ้นสู่ยอดเขาจากด้านเหนือ ในครั้งแรกมัลเลอรีและลูกทีมได้ขึ้นมาถึงระดับ 7,000 เมตรได้เป็นผลสำเร็จ แต่พวกเขาขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็น ทำให้ต้องกลับลงไปอย่างน่าเสียดาย

George Mallory
จอร์จ มัลเลอรี

ในครั้งที่สอง มัลเลอรีและลูกทีมยังคงใช้เส้นทางเดิม แต่ในคราวนี้ทีมของเขาโชคร้าย เพราะว่าเจอหิมะถล่มเข้าอย่างจัง มัลเลอรีถูกหิมะกวาดลงไปจากยอดเขา ตัวเขารอดชีวิตอย่างหวุดหวิด แต่ชาวเชอร์ปาที่เป็นลูกหาบเสียชีวิตไป 7 คน

สองปีผ่านมา มัลเลอรีและทีมก็กลับมาเอเวอร์เรสต์อีก คราวนี้เขาสามารถปีนขึ้นไปได้สูงถึง 8,000 เมตร พวกเขาจึงหยุดพักและสร้างแคมป์ขึ้นในจุดดังกล่าวเพื่อเตรียมการขั้นสุดท้ายเพื่อขึ้นสู่จุดสูงสุด

ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.1924 มัลเลอรีและเออร์ไวน์ได้พยายามขึ้นสู่ 848 เมตรสุดท้ายของยอดเขา โดยนำถังออกซิเจนไปด้วย

แต่ทว่าไม่มีใครพบมัลเลอรีอีกเลย เขาหายสาบสูญไปจนกระทั่งในอีก 75 ปีต่อมา

ทางการเนปาลได้พบร่างของมัลเลอรีบนที่ราบแห่งหนึ่ง เขาน่าจะพลัดตกลงมาจากยอดเขา และถูกหิมะกลบฝังอยู่ที่นั่นมาหลายทศวรรษ

การเสียชีวิตของมัลเลอรีทำให้ทีมของเขาต้องยกเลิกภารกิจทั้งหมด หลังจากนั้นก็มีความพยายามที่จะพิชิตเอเวอร์เรสต์อีกหลายครั้ง แต่ยังไม่มีใครประสบความสำเร็จ

พิชิตเอเวอร์เรสต์

ในปี ค.ศ.1953 ทีมนักปีนเขาจากอังกฤษนำโดย จอห์น ฮันท์ เดินทางมายังเอเวอร์เรสต์ พวกเขาตั้งใจว่าจะพิชิตยอดเขาลูกนี้ให้ได้เสียที

วิธีการของจอห์น ฮันท์คือส่งทีมนักปีนเขาขึ้นไปเป็นคู่ๆ คู่แรกที่ส่งขึ้นไปสามารถขึ้นไปถึงระดับความสูง 8,700 เมตร แต่ก็ต้องกลับลงมาเพราะขาดแคลนออกซิเจน

อย่างไรก็ตามคู่แรกก็ได้บอกข้อผิดพลาด และสิ่งที่ควรจะทำแก่คู่ที่สอง คู่ที่สองได้แก่ นักปีนเขาชาวนิวซีแลนด์ ชื่อ เอ็ดมันด์ ฮิลลารี และ ชาวเชอร์ปาชื่อ เทนซิง นอร์เกย์

Hillary and Tenzing
ฮิลลารีและเทนซิง Jamling Tenzing Norgay

ชาวเชอร์ปาเป็นชาวพื้นเมืองที่คุ้นชินกับพื้นที่สูง พวกเขาแข็งแรง ร่างกายของเขาคุ้นชินกับระดับออกซิเจนที่ต่ำกว่าปกติ และแต่ละคนยังมีความสามารถในการปีนเขาเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงเป็นเพื่อนร่วมทางและลูกหาบแก่นักปีนเขาได้อย่างดีเยี่ยม ในปัจจุบันชาวเชอร์ปายังคงเป็นลูกหาบให้แก่นักผจญภัยจำนวนมากที่เดินทางมาพิชิตยอดเขาในเทือกเขาหิมาลัย

ในครั้งนี้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ทั้งสองช่วยเหลือกันจนสามารถพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ได้ในที่สุด วันนั้นเป็นวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1953 ฮิลลารีและเทนซิงใช้เวลาอยู่บนจุดสูงสุดของโลกสักพักหนึ่งแล้วจึงกลับลงมา ฮิลลารีได้วางไม้กางเขนขนาดเล็ก และขนมหวานไว้บนยอดเขาเพื่อเป็นที่ระลึกอีกด้วย

การพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ใกล้เคียงกับการขึ้นครองราชย์ของควีนอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษพอดี ดังนั้น ฮันท์ และฮิลลารีจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัศวินแห่งจักรวรรดิอังกฤษ (Order of the British Empire) ส่วนเทนซิงได้รับพระราชทานเหรียญตราจอร์จแห่งจักรวรรดิอังกฤษ

หลังจากนั้นเอเวอร์เรสต์ก็ได้เป็นสถานที่อันสุดท้าทายของนักท่องเที่ยวที่หลงไหลในการผจญภัยมาจนถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตามเอเวอร์เรสต์มิใช่ยอดเขาที่อันตรายที่สุด ถึงแม้ว่าจะสูงที่สุดก็ตาม จะเป็นยอดเขาใดกันแน่ที่โหดที่สุด อ่านได้ ที่นี่

บทความการศึกษา

Victory Tale ไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความไปโพสที่ใดทุกกรณี การฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย

error: Content is protected !!